พฤติกรรมการเข้าชม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม ตอนที่ 6

2.2 แนวคิดการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์

ในคำกล่าวนำของหนังสือ “The museum experience” มีตอนหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า  “เพียงแค่รูปร่างทางกายภาพของพิพิธภัณฑ์ไม่ได้หมายถึงว่ามันเป็นสิ่งที่ดึงดูดหรือหรือทำให้ผู้ชมคิดที่จะมาเที่ยวพิพิธภัณฑ์  หากแต่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประสบการณ์แก่ผู้ชมต่างหาก”[1] การดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์จึงไม่ใช่แค่เพียงการสร้างพิพิธภัณฑ์ให้ดึงดูดสายตาเท่านั้น  แต่ได้คำนึงถึงสิ่งที่จะให้กับผู้ชมนั้นก็คือสิ่งที่เป็นประสบการณ์

2.2.1 แนวคิดการสื่อสาร

การสื่อสารและการประชาสัมชาสัมพันธ์เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีผลต่อองค์กรและการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์  เพราะการสื่อสารเป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การรับว่าของผู้ชมถึงข้อมูลความเคลื่อนไหวของพิพิธฑ์  สารที่สื่อไปนั้นเป็นทั้งข้อมูลและภาพลักษณ์ขององค์กร  ซึ่งภาพลักษณ์นั้นเป็นข้อมูลสำคัญในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์  เพราะภาพลักษณ์นั้นเปรียบเสมือนกับพื้นฐานของความคิดที่คนมีต่อองค์กร สินค้าและบริการ[2]


[1] John H. Falk and Lynn D. Dierking, The Museum Experience, Washington DC 1992, Page 11

[2] ดวงพร คำนูณวัฒน์. เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องกลยุทธ์การตลาดสำหรับงานพิพิธภัณฑ์. หน้า 109

 

2.2.1.1 กระบวนการสื่อสาร

กระบวนการสื่อสารเป็นเป็นการส่งสารจากแหล่งข้อมูล (source) คือองค์กรของพิพิธภัณฑ์ ได้ส่งเนื้อหาข่าวสาร (message) โดยใช้ช่องทางการสื่อสาร (channel) เช่น วิทยุ แผ่นพับ โปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อส่งสารไปยังผู้รับสาร (receiver) หรือผู้ชม

อย่างไรก็ตามการสื่อสารจะมีประสิทธิภาพหรือประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด  ไม่ใช่เพียงแค่การทำให้ผู้รับสารรับรู้ได้เท่านั้น แต่การสื่อสารที่ดีผู้รับสารต้องมีปฏิกิริยาตอบสนอง

 

2.2.1.2    การสื่อสารกับเครือข่ายสังคมออนไลน์

Social network หรือสังคมเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเว็บไซท์ที่ให้ผู้ใช้สร้างพื้นที่ส่วนตัวและสร้างเครือข่ายหรือกลุ่มผู้ใช้ไว้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มผู้ใช้ด้วยกัน โดย Social network ในโลกนั้นมีหลากหลายและมีจำนวนมากเช่น Facebook, Hi5, Twitter, Myspace, Orkut, Skyrock, Bebo, Friendster, Studivz เป็นต้น แต่ Social network ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทยได้แก่ Twitter Facebook Hi5และ Multiply ส่วนที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ Facebook ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้คนไทยมากที่สุด แต่ในอดีต Hi5 เคยเป็นที่นิยมซึ่งกำลังถูกลดความนิยมและกำลังถูก Facebook ซึ่งเป็น Social network อันดับหนึ่งของโลกมาแทนที่ประโยชน์ของ Facebook ไม่ได้มีไว้แค่สื่อสารกันเฉพาะผู้ใช้เท่านั้น หากแต่เป็นพื้นที่ของการตลาดการประชาสัมพันธ์ขององค์กรหรือเว็บไซท์ต่างๆ ที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือสื่อสารกับผู้ใช้ Facebook

 

2.2.1.3    Facebook[1]

ปัจจุบันเฟสบุ๊ค (Facebook) ของมิวเซียมสยามมีสมาชิกมากถึง 33,213 คน การสื่อสารทางเฟสบุ๊คจะทรงอิทธิพลมากกว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่าง Hi5 และ Twitter เพราะรูปแบบของการสื่อสารที่โพสเพียงครั้งเดียวแต่สมาชิกทุกคนสามารถรับรู้ได้และเป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารโต้ตอบกับผู้รับสารได้ทันทีอีกทั้งยังโต้ตอบแบบเป็นกลุ่มได้ และจำนวนสมาชิกที่มีมากกว่าเว็บอื่นทำให้เฟสบุ๊คเป็นสังคมเครือข่ายออนไลน์ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดขณะนี้

องค์กรต่างๆจำนวนมากรวมทั้งบริษัทร้านค้าได้มีการสร้าง “Fan page” มีลักษณะเป็นหน้าเว็บเฟสบุ๊ค เพื่อทำการสื่อสารและประชาสัมพันธ์กับลูกค้าหรือคนที่จะมาเป็นลูกค้า  การสร้างหน้า Fan page จะเป็นการเปิดโอกาสให้คนใช้เฟสบุ๊คเข้าถึงได้โดยง่าย เพราะนอกผู้ใช้จะได้ติดตามข่าวสารแล้วยังสามารถพูดคุย แสดงความคิดเห็น หรือเป็นช่องทางติดต่อไปยังองค์กร  และนอกจากองค์กรหรือร้านค้าแล้วบุคคลที่มีชื่อเสียงอย่างดารานักร้องก็ได้เปิดหน้า Fan page เพื่อใช้ในการสื่อสารกับแฟนคลับอีกด้วย

 

 

2.2.1.4   การสื่อสารของผู้ชมบน Facebook

การสื่อสารของผู้ชมบน Facebook จะมีลักษณะการเป็นโพสคำพูด ความรู้สึก รูปถ่าย คลิป หรือเป็นการอัพเดทสถานะของผู้ใช้ แต่ Facebook นั้นมีลักษณะเด่นคือที่หน้า Home (หน้าแรก) จะแสดงการอัพเดทสถานะหรือโพสทั้งหมดของเครือข่ายของผู้ใช้ในช่วงเวลานั้นๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นสถานะหรือโพสของเครือข่ายหรือเพื่อนๆในเวลาล่าสุดเสมือนได้อัพเดทตลอดเวลา เพราะข้อความเนื้อหาที่ขึ้นบน Facebook ไม่ได้มีแต่เรื่องส่วนตัวแต่รวมถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ผู้ใช้ได้โพสขึ้นบนเฟสบุ๊ค และเมื่อผู้ใช้ เปิด Facebook มาที่หน้าแรกก็จะเห็นข่าวสารข้อมูลล่าสุดหรือการโพสข้อความของผู้ใช้ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน  ด้วยเหตุนี้เองเฟสบุ๊คจึงเป็นโอกาสทางการตลาดขององค์กรต่างๆในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ

การสื่อสารมีสามช่องทางหลักคือการ  โพส, แสดงความคิดเห็น และ Direct message  โดยการโพสของเฟสบุ๊คจะมีลักษณะลักษณะเป็นการแบ่งปันข้อมูลและอัพเดทสถานะของผู้ใช้  เช่นการแสดงความรู้สึก แสดงความคิดเห็น โพสรูปถ่าย คลิปวิดีโอ หรือข่าวสารล่าสุด  และในขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็นต่อการโพสของเพื่อนหรือเครือข่ายเดียวกันของผู้ใช้ เฟสบุ๊คจะแจ้งเตือนมาทางอีเมล์ทันทีเมื่อมีเพื่อนมาแสดงความคิดเห็นต่อการโพสของเรา นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถโพสมาที่หน้าเฟสบุ๊คของเราได้โดยตรง  ส่วน Direct message เป็นการส่งข้อความมาหาเราโดยตรงแบบไม่เปิดเผยให้กับเพื่อนที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน

 

2.2.1.5    การสื่อสารระหว่างมิวเซียมสยามกับผู้ชมบนเฟสบุ๊ค

ลักษณะเฟสบุ๊คของมิวเซียมสยามเป็น Fan page คือเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เฟสบุ๊คได้สมัครเข้าร่วมกลุ่ม เพื่อติดตามข่าวสารของทางมิวเซียมสยาม ซึ่งปัจจุบันเฟสบุ๊คของมิวเซียมสยามมีสมาชิกมากถึง 9480 คน อีกทั้งยังมีการสื่อสารกับสมาชิกทุกวัน ทำให้สมาชิกทราบถึงข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวต่างๆของมิวเซียมสยามได้ทุกวัน

ลักษณะการสื่อของมิวเซียมสยามบนเฟสบุ๊คไม่ใช่แค่การแจ้งข่าวของทางพิพิธภัณฑ์อย่างเดียวแต่มีลักษณะเป็นการเปิดประเด็นให้ร่วมแสดงความคิดเห็น หรือเป็นการนำสาระต่างๆมาเสนอ ซึ่งสมาชิกสามารถแสดงความคิดเห็นได้ในทุกโพสของมิวเซียมสยาม

 

2.2.3 แนวคิดนิทรรศการ

2.2.3.1   หลักการออกแบบนิทรรศการ

แนวคิดพิพิธภัณฑ์มีชีวิตก็คือการจัดแสดงนิทรรศการให้มีชีวิต  ซึ่งปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ในหลายๆแห่งถูกมองว่าขาดชีวิตโดยเฉพาะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน  สาเหตุที่พิพิธภัณฑ์ถูกมองเช่นนั้นเป็นเพราะว่ารูปแบบการจัดแสดงที่ไม่มีการหมุนเวียน  ขาดเรื่องราวมีแต่วัตถุ ไม่มีการโต้ตอบกับผู้ชม ฯลฯ  และนักวิชาการได้นิยามรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตแตกต่างกันไป  แต่โดยรวมๆแล้วพิพิธภัณฑ์หรือการจัดแสดงนิทรรศการที่มีชีวิตมีลักษณะดังต่อไปนี้

1 ลักษณะการจัดแสดงไม่ได้ใช้วัตถุเป็นตัวหลัก หากแต่นิทรรศการเต็มไปด้วยเรื่องราวโดยเฉพาะเรื่องราวของผู้คนที่มีความสัมพันธ์กับวัตถุที่ใช้จัดแสดง  หรือใช้วัตถุเป็นตัวสะท้อนเรื่องราวชีวิตของผู้คน

2 การจัดแสดงมีการหมุนเวียนหรือปรับปรุงอยู่ตลอด กล่าวคือนอกจากตัวนิทรรศการถาวรแล้วพิพิธภัณฑ์ควรมีนิทรรศการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนเพื่อนำเสนอเรื่องราวใหม่ๆ ทำให้พิพะภัณฑ์มีการเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตาย

3 นิทรรศการสามารถทำปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการจัดแสดงให้มีการโต้ตอบกับผู้ชม เช่นการใช้ระบบจอสัมผัส  หรือลูกเล่นอื่นๆให้ผู้ชมได้เกิดการสัมผัสด้วยมือหรือสร้างปฏิกริยาอย่างใดอย่างหนึ่งกับผู้ชม  นอกจากจะใช้เทคโนโลยี การใช้สื่อจัดแสดงก็สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมได้ เช่น การจัดแสดงโดยใช้สื่อและเรื่องราวที่ตรงกับความสนใจหรือเป็นเรื่องไกล้ตัวกับกลุ่มเป้าหมาย

4 นิทรรศการนั้นควรให้ความเพลิดเพลินกับผู้ชม เรียกได้ว่าเป็นการให้ผู้ชมได้เยนรู้อย่างเพลิดเพลิน

5 นิทรรศการมีความเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งมีคนกล่าวไว้ว่าการทำพิพิธภัณฑ์ก็เหมือนกับทำภาพยนตร์โดยเฉพาะในส่วนของการเล่าเรื่อง

 

2.2.3.2   แนวคิดการสร้างบรรยากาศนิทรรศการ

บรรยากาศของนิทรรศการเป็นส่วนสำคัญที่จะกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้ชม หรือทำให้นิทรรศการมีความน่าสนใจ  ที่ผ่านมาสังคมไทยยังติดกับภาพลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์ในเชิงที่ว่าเป็นสถานที่คร่ำครึบรรยากาศภายในเต็มไปด้วยสิ่งของเก่าแก่  ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ไม่ได้พึงประสงค์เท่าใดนัก  แม้ว่าปัจจุบันพิพิภัณฑ์หลายๆแห่ง  ได้พยายามสร้างภาพลักษณ์หรือบรรยากาศของพิพิธภัณฑ์ให้น่ารื่นรมณ์ เช่นการจัดพิพิธภัณฑ์ให้เป็นในลักษณะของแหล่งท่องเที่ยว  การใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และดึงดูดผู้ชมให้มีความสนใจ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับนิทรรศการ ไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีหรือการลงทุนสูงเสมอไป  แต่บรรยากาศนิทรรศการที่ดีควรมีความเหมาะสมกับกลุ่มคนนั้นๆหรือผู้ชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของนิทรรศการ

 

2.2.4 แนวคิดการให้บริการข้อมูล

การให้บริการข้อมูลในที่นี้หมายถึงการบริการในเชิงให้ความรู้กับผู้ชม  ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลนิทรรศการ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของนิทรรศการ  แต่ในปัจจุบันการให้บริการความรู้ของพิพิธภัณฑ์นั้นส่วนใหญ่ยังไม่ทำออกมาในรูปแบบที่เป็นรูปธรรมหรือทำอย่างจริงจังเท่าที่ควร  ความรู้ส่วนใหญ่นั้นอยู่ที่ผู้นำชมหรือผู้เป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์  อีกทั้งฐานความรู้ที่อยู่ในชุดนิทรรศการนั้นยังไม่แน่นพอ ทำให้การบริการความรู้ทั้งจากนิทรรศการและบริการเสริมต่างๆยังไม่เต็มประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตามพิพิธภัณฑ์ในหลายๆแห่งได้พัฒนาการให้บริการข้อมูลในเชิงความรู้ เช่น บ้านพิพิธภัณฑ์ของคุณ อเนก นาวิกมูล นอกจากจะมีการจัดแสดงนิทรรศการแล้ว ยังได้ออกหนังสือเล่าเรื่องของเก่าของสะสมซึ่งมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์  พิพิธภัณฑ์หลายๆแห่งได้จัดทำคู่มือหรือหนังสือที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์เช่นพิพิธภัณฑ์อุดรธานีจะมีบริการให้ยืมถ่ายเอกสาร และบริการให้ข้อมูลอื่นๆของพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยามเองก็มีการให้บริการข้อมูลในเชิงความรู้ที่หลากหลาย เช่นการให้ข้อมูลผ่านเว็บไซท์ การขายหนังสือที่มีเรื่องราวหรือเนื้อหาเกี่ยวกับนิทรรศการ และการเปิดบริการบริการห้องสมุด เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของการแสวงหาความรู้ของผู้ชมนอกเหนือจากการจัดนิทรรศการ

 

2.2.4.1    ลักษณะการให้บริการข้อมูล

การบริการข้อมูลถือว่าเป็นการบริการที่พื้นฐานที่สุดของพิพิธภัณฑ์  แต่ความต่างของการบริการอยู่ที่รูปแบบการให้บริการ โดยทั่วไปการบริการจะมีดังนี้

บริการเอกสาร พิพิภัณฑ์ส่วนใหญ่ล้วนมีข้อมูล เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรืองานวิจัยของพิพิธภัณฑ์เอง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพิพิธภัณฑ์ว่าจะให้บริการด้านเอกสารหรือขอบเขตข้อมูลมากน้อยเพียงใด

บริการฐานข้อมูล การบริการข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลออนไลน์  ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ต

การนำชม/การให้สัมภาษณ์ พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่จะมีบริการนำชมให้กับผู้ชม ส่วนการให้สัมภาษณ์จะเป็นในลักษณะของการไปขอข้อมูลกับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหรือพิพิธภัณฑ์เอกชน


[1] ที่อยู่เว็บ Facebook ของมิวเซียมสยาม http://www.facebook.com/pages/Bangkok-Thailand/ Museum-Siam/304416475214?ref=mf

 

Facebook Comments