แนวคิด – Makky.in.th http://makky.in.th ถึงเวลา เดี๋ยวเรื่องก็มาเอง Wed, 31 Aug 2016 09:05:26 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.1.4 ทดลองทำเว็บ “สไตล์แมกกาซีน” http://makky.in.th/2796/ http://makky.in.th/2796/#comments Fri, 04 Apr 2014 22:25:29 +0000 http://makky.in.th/?p=2796 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ ผมเริ่มเปลี่ยนรูปแบบการสร้างเนื้อหาบนเว็บ maahalai.com จากเดิมที่เน้นการเขียนความรู้ในลักษณะของ How to แบบเป็นตอนๆ และการรีวิวแอพที่ถูกใจ

ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็น สร้างประเด็น เกาะติดเทรนด์ และเน้นรีวิวแอพที่เป็นประโยชน์ ส่วนเกมนานๆทีจะนำมาเขียน ยกเว้นแต่ว่าเป็นเกมที่ฮิตมากๆอย่าง Cookie Run ผมเขียนไว้หลายเรื่องเลย เพราะมันเป็นเทรนด์ อะไรที่เป็นเทรนด์ด้านไอที ผมจะเริ่มเกาะติด หลังจากที่ทำตัวอินดี้มานาน คือชอบเขียนอะไรที่คนอื่นเขาไม่เขียน เพราะอยากให้เว็บเป็นทางเลือกอีกทางเลือก

 

มาวันนี้รูปแบบเนื้อหาได้เปลี่ยนไป มาเน้นที่ “ประโยชน์ของบทความ” ทุกเรื่องที่เขียนมันต้องมีประโยชน์มากกว่าที่ผ่านๆมา เลยทำให้วันๆหนึ่งผมเขียนบล็อกได้แค่ 2-3 เรื่องเท่านั้น จากที่เคยคิดว่าเดือนหนึ่งจะต้องเขียนให้ได้ 100 เรื่อง แต่คิดไปคิดมาจะเขียนเยอะไปทำไม มาตั้งเป้าที่คุณภาพดีกว่า

และสำหรับการเปลี่ยนแปลงผมเริ่มจาก…

1. ลงทุน
ข่าวไอทีผมตามติดทุกวันอยู่แล้ว แต่รู้สึกว่าไม่พอ ก็สมัครบริการอ่านแมกกาซีนแบบบุพเฟ่ ซึ่งก็ทำให้อ่านหนังสือได้มากขึ้นและเขียนอะไรใหม่ๆได้มากขึ้นด้วย

และได้ซื้อมือถือ Nokia Lumia ที่เป็น Windows Phone เอามาใช้งานและได้อัพเดทข่าวมือถือฝั่ง Windows บ้าง

2. เพิ่มความหลากหลาย
เว็บ maahalai.com ปกติจะเน้นสาระของ Windows Facebook และ iOS แต่ตอนนี้มี Android และ Windows Phone เพิ่มเข้ามา เพราะรู้ว่ามีคนหลายกลุ่มที่ติดตามเว็บนี้ และชอบมีผู้ใช้ Android ถามว่ามีแอพมีเกมแบบ iOS บ้างมั้ย วันนี้เว็บผมจะตอบโจทย์ตรงนี้

3. ใช้ Code ที่ซับซ้อนมากขึ้น
ปกติเวลาผมเขียนบล็อกจะมีแต่หน้าขาวๆโล่งๆ (เหมือนบล็อกนี้) แต่เว็บ maahalai จะมีโค้ดสีไฮไลท์ส่วนสำคัญๆ บางทีก็เอาไว้แบ่งเนื้อหา เพื่อให้คนอ่านแยกประเด็นในเนื้อหาได้ง่าย และดูสบายตามากขึ้น

4. เน้นแอพมากกว่าเกม
ในเว็บ ThaiPad.maahalai.com หลังๆมานี้ผมเน้นรีวิวแอพเป็นหลัก เน้นแอพที่มีประโยชน์ต่อการทำงาน ไม่คอยรีวิวเพื่อแอพเพื่อความบันเทิงแล้ว ดูมันมีประโยชน์น้อยและพบว่าคนไม่ค่อยสนใจด้วย ยกเว้นแต่ว่ามันเป็นแอพ “กำลังฮิต” ต่อให้ดูไร้สาระก็ต้องรีวิว

5. ทำให้รู้สึกเหมือนอ่านแมกกาซีน
มันเป็นไปได้ยากที่จะทำหน้าเว็บให้เหมือนหนังสือแมกกาซีน ไม่เหมือนอ่านบล็อกทั่วไป ซึ่งทุกเรื่องต้องมีความน่าสนใจ เน้นการสร้างประเด็นที่เป็นประโยชน์ แต่ยังไม่ทิ้งสิ่งที่ยึดมั่นมาตลอดคือเกือบทุกเรื่อง “ต้องมาจากประสบการณ์จริง” (แต่ขอมีแบบที่เป็นอัพเดทข่าวบ้าง) ถ้าคุณสังเกตจะเห็นว่าเว็บผมเป็นเว็บไอทีที่ไม่มี “ข่าวลือ” เพราะผมชอบเขียนอะไรใหม่ๆมากกว่าเขียนข่าวตามคนอื่น สำคัญคือผมแปลไม่เก่งครับ

ผมเคยเขียนบล็อกวันหนึ่งได้ 7-10 เรื่อง ต่อมาเขียนได้มากสุดก็ 5 เรื่อง ปัจจุบันเขียนได้ 3 เรื่องต่อวันก็เก่งแล้ว เหตุเพราะเน้นคุณภาพมากขึ้น สำคัญคือพยายามจะรับข้อมูลให้มากๆก่อนที่จะถ่ายทอดออกไป และการเขียนแบบแมกกาซีนจะเป็นอะไรที่ใช้เวลานานต่อการเขียน 1 เรื่อง ด้วยความที่กินเวลานาน วิธีเขียนเลยแบ่งเป็น เรื่องใหญ่อย่างน้อย 1 เรื่องในแต่ละวัน และมีเรื่องเล็กๆอีก 1-2 เรื่อง (แล้วแต่กำลัง)

]]>
http://makky.in.th/2796/feed/ 5
กลับมาทำเว็บพร้อม “วิธีคิดใหม่” http://makky.in.th/2469/ http://makky.in.th/2469/#comments Fri, 12 Apr 2013 10:25:11 +0000 http://makky.in.th/?p=2469 วิธีคิดใหม่ของผมสำหรับคนอื่นมันก็ไม่ได้ใหม่เท่าไหร่หรอกนะ เว็บที่ทำตอนนี้เน้นอยู่เว็บเดียวนั่นคือ maahalai.com กับอีก 2 เว็บย่อยคือ facebook กับ ThaiPad ทั้งหมดเป็นเรื่องราวไอที

แต่เดิม
มีหลายอย่างที่เขียนเป็นความรู้ในเชิงปฏิบัติ บางอย่างก็คล้ายๆกับการแจ้งข่าว หลายๆอย่างที่เขียนไว้รู้สึกว่ามันกระจัดกระจายมาก ไม่มีการรวมรวมไว้เป็นสัดส่วน คือเขียนไว้แล้วคนอ่านสับสนว่าตอนเก่ามันไปอยู่ไหน จึงเหมือนกับว่ามันขาดความต่อเนื่อง

เว็บอื่น
ไม่ใช่แค่เว็บผมนะ แต่หลายเว็บเขาก็ทำประมาณนี้แหล่ะ ถ้าพูดถึงเว็บไอทีส่วนใหญ่จะเป็นข่าว ในส่วนที่เป็นความรู้แบบเข้ามาหาได้ต่อเนื่อง ก็พอมีอยู่แต่ว่ายังมีน้อยมาก เว็บดังๆส่วนใหญ่เน้นข่าวเน้นการวิเคราะห์ ส่วนเว็บที่เขียนเน้นความรู้ไอทีเท่าที่เห็นจะเป็นเว็บเฉพาะด้าน เช่น เว็บเวิร์ดเพลส เว็บอูบุนตู เว็บวินโดวส์ ฯลฯ

วิธีคิดใหม่
คือการรวมสิ่งที่เขียนมาไว้เป็นหมวดหมู่ให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น คล้ายๆกับการเปิดหนังสืออ่าน และกำลังทยอยทำ สำหรับเว็บอื่นมันอาจจะไม่ใหม่ แต่มันคือความใหม่สำหรับผม ทั้งนี้ผมได้เริ่มต้นด้วยการเขียนบทความ พร้อมระบุว่าเป็น [ตอนที่ 1] [ตอนที่ 2]… คือเขียนแล้วบอกชัดเจนว่านี่เป็นตอนที่เท่าไหร่ ทำให้คนที่เพิ่งเห็นตอนปลายๆ ได้กลับไปอ่านเว็บตอนต้นๆได้ง่ายๆ

แต่การเขียนแบบแบ่งตอนอย่างเดียวมันยังไม่เพียงพอ ผมเลยทำการรวบรวมตอนต่างๆไว้ในหน้าเดียวเพื่อให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น แต่จะเวิร์คหรือป่าวก็ยังไม่แน่ใจนะ แต่คิดว่าดีกว่าไม่ทำ

การเริ่มต้น
เรื่องที่กำลังอยู่และยังเขียนไม่เสร็จได้แก่ iPad, LINE, Facebook, Pages, Google Search, Gmail และ LINE Play ในอนาคตจะเขียนวิธีใช้เกี่ยวกับบริการของ Google จน(เกือบ)หมด เน้นว่าเขียนเขียนในฐานะผู้ใช้ ไม่ใช่นักพัฒนา

เกี่ยวกับ Google ตอนแรกอยากเขียนวิธีใช้ Chrome แล้วก็รีวิวแอพเจ๋งๆจาก chrome แต่ปัญหาคือ คนอ่านจำเป็นต้องมี Gmail เสียก่อนถึงจะใช้ Chrome ได้อย่างคุ้มค่า อีกทั้งบัญชีนักพัฒนาเดิมก็ถูกแบน ไม่รู้เพราะอะไร ผมขี้เกียจเขียนคำร้องขอใหม่ ก็เลยสมัครเมล์ใหม่เลย พร้อมทั้งจะสมัครเป็นนักพัฒนา Android ด้วย (อันเก่าก็ถูกแบน)

สมัครนักพัฒนาใหม่คราวนี้จะไม่ทำแอพพร่ำเพื่อแล้ว เน้นคุณภาพ เพื่อไม่ให้โดนแบนอีก

ตัวอย่างการจัดหมวดหมู่ที่ทำไว้

Makky-0013

นอกจากนั้น

Makky-0014

ผมทำแบนเนอร์ไว้ให้เข้าถึงหมวดหมู่นั้นได้ง่ายๆ ในความเป็นจริงเขียนไว้มากกว่านี้ แต่คงจะรวมเฉพาะเรื่องที่มันเป็นเรื่องใหญ่ๆ และคนก็สนใจ

อนาคต
น่าจะอีก 2 เดือนถึงจะเขียนเรื่องของ Google ได้ครบ ต่อไปจะเขียนเรื่อง Android ตอนนี้ไม่มี Android ให้จับเลย รอให้ทุกอย่างลงตัวค่อยกลับไปทำเว็บ Droidza.com เว็บแรกที่ผมทำ ผมคงไม่ทิ้งง่ายๆน่ะ แต่ด้วยอุบัติเหตุบางอย่างเลยทำให้ผมต้องหยุดไว้ชั่วคราว

]]>
http://makky.in.th/2469/feed/ 1
แนวคิดการเลือกซื้อมือถือ Android ตามงบที่มีอย่างจำกัด http://makky.in.th/1069/ http://makky.in.th/1069/#comments Fri, 14 Oct 2011 20:57:37 +0000 http://makky.in.th/?p=1069 มือถือระบบ Android นั้นมีราคาตั้งแต่ 2 พันกว่าๆ ไปจนถึง 1 หมื่นปลายๆ ไม่มีรุ่นไหนที่มีสเปกเหมือนกัน ทุกอย่างจะถูกหั่นไปตามราคา คำถามคือ เมื่อเรามีงบอยู่เท่านี้  เราจะซื้อมือถือ Android แบบไหนได้บ้าง  โดยจะพิจารณาจากความคาดหวังที่จะใช้งาน

ต่ำกว่า 5,000 บาท

ต่ำกว่า 5 พัน จะเป็นมือถือจอเล็ก  การสัมผัสพอใช้ได้ บางรุ่นเข้าขั้นแย่ เกมส์และแอพต่างๆมีให้เล่นไม่มาก เล่นเกมส์แรงๆไม่ได้อย่าคาดหวัง เหมาะกับเอามาโทร เล่นเกมส์นิดๆหน่อยๆ  อัพเดทสถานะเฟสบุ๊ค เช็คอินผ่าน Foursquare แต่ถ้าจะเอาไว้แชทคงต้องดูว่า “นิ้ว” เราใหญ่หรือไม่ กับมือถือจอเล็กการสัมผัสอาจทำได้ไม่ค่อยดี  และหลายรุ่นจอละเอียดต่ำ อาจเห็นตัวหนังสือไม่ชัด  ส่วนเรื่องการถ่ายภาพไม่ต้องคาดหวังเลย ส่วนใหญ่จะเป็นกล้องไม่มีออโต้โฟกัส

สรุป เอาไว้ใช้เป็นโทรศัพท์พื้นฐานพอได้ เล่นแอพไม่มาก เน้นโทร ไม่เหมาะท่องเน็ต แต่ถ้าอยากได้ที่ดีกว่าทั่วไปในราคานี้คงต้องซื้อรุ่นเก่าๆ ถ้ามันยังมีขาย

มือถือที่แนะนำ Samsung Galaxy Mini S5570, i-mobile i693

5,000-10,000 บาท

ราคานี้ทำอะไรได้หลายอย่าง แชท เกมส์ แอพ ถ่ายรูป ท่องเน็ต ใช้เป็นแผนที่นำทาง ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ ทำได้ดีแบบพอใช้ไม่ถึงกับดีเยี่ยม และมีหน้าจอให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ 3.2-4.0 นิ้ว เหมาะกับมือใหม่ Android และผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ใช่ Geek ส่วนคนที่คาดหวังว่าจะเอามือถือมาเล่นเกมส์ Facebook ราคานี้มีบางรุ่นที่ทำได้ คือสเปกขั้นต่ำต้อง 1 GHz ขึ้นไป ราคาก็เกือบๆหมื่น …ตามความเห็นผม มือถือไม่เหมาะเอามาเล่นเกมส์ Facebook เพราะเครื่องจะทำงานหนักมาก

มือถือที่แนะนำ  Wellcom A100, Samsung Galaxy Cooper 

10,000 – 15,000 บาท

ราคานี้ซื้อมือถือแรงๆ ได้หลายรุ่น ส่วนใหญ่เป็นมือถือจอใหญ่ และแบรนด์ดัง วัสดุดี ทำได้ทุกอย่างที่ Android พึงจะทำได้ ถ้าซื้อราคานี้น่าจะได้มือถือระดับความแรงอยู่ที่ CPU 1 GHz ขึ้นไป ซึ่งจะทำงานหนักได้ดีกว่า เช่น ใช้ดูหนังที่มีไฟล์ขนาดใหญ่ เล่นเกมส์แรงๆระดับ 3D หลายๆรุ่นจะมาพร้อมกับกล้องหน้า ใช้สนทนากันแบบเห็นหน้า ส่วนกล้องหลังก็ 5 Mp ขึ้นไป

มือถือที่แนะนำ Samsung Galaxy S Plus, LG Optimus Black

15,000 – 20,000 บาท

ราคานี้สำหรับซื้อมือถือรุ่นท็อป  หลายๆรุ่นเกือบ 2 หมื่นบาท ถ้าซื้อราคานี้จะได้สัมผัสประสบการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่ผู้ผลิตจะทำได้ สเปกขั้นต่ำคือ CPU 1 GHz Dual Core ขึ้นไป คือความแรงคูณ 2 มาพร้อมกับระบบปฏบัติการล่าสุด Android 2.3  และหน้าจอที่คมชัด บางรุ่นเป็นจอ 3D ซึ่งเหมือนว่า LG กับ HTC จะแข่งกันอยู่ หน้าจอส่วนใหญ่ก็ 4 นิ้วขึ้นไป

มือถือที่แนะนำ HTC Evo 3D, LG Optimus 3D, Samsung Galaxy S2

]]>
http://makky.in.th/1069/feed/ 3
แนวคิดการเลือกซื้อ มือถือ-แท็บเล็ท มองแบบ User หรือ Geek http://makky.in.th/976/ http://makky.in.th/976/#comments Thu, 22 Sep 2011 13:22:38 +0000 http://makky.in.th/?p=976

หลายคำถามที่พบบ่อย เอามือถือรุ่นไหนดี แล้วก็เอาเครื่องนั้นกับเครื่องนี้มาเทียบกัน แล้วถามต่อว่ารุ่นไหนดีกว่า …สำหรับผมไม่มีเครื่อไหนดีกว่า แต่เครื่องไหนที่จะเหมาะกับเรามากกว่า

คิดแบบ Geek

Geek จะมองที่สเปกเป็นหลัก รองลงมาคือการดีไซร์และการใช้งานจริง  สเปกที่ Geek มอง เป็นเรื่องของ OS CPU GPU ROM RAM หน้าจอ การสัมผัส รองลงมาเป็น UI  กล้อง แบต และการรองรับคลื่น

Geek ส่วนใหญ่จะเลือกมือถือ Android เป็นระบบมือถือที่มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานสูง มันเป็นระบบที่ปรับแต่ง Software มือถือได้หลายรูปแบบ ราวกลับเปลี่ยนเครื่องใหม่  อีกทั้ง Android เป็นระบบที่มีผู้ผลิตหลายเจ้า เช่น Samsung  Motorola Acer Sony HTC ฯลฯ ทำให้มีสเปกที่หลากหลาย และมีหลายราคาให้เลือก

สเปกน่าใช้ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย

  1. Android OS 2.3 ( Tablet Honeycomb 3 )
  2. CPU Dual-Core
  3. RAM 1 G
  4. ROM ขั้นต่ำ 1 GB
  5. Multi-touch สัมผัสได้หลายจุดพร้อมกัน
  6. หน้าจอ 3.5-4.3
  7. มีกล้องหน้า
  8. กล้องหลัง 5 MP ขึ้นไป พร้อม Auto-Focus
  9. GPS
  10. 3G รองรับทุกค่าย + Wifi Bluetooth
นอกนั้นเป็นการพิจารณา ความชัดของหน้าจอ ความจุแบต ระบบเสียง  UI และการออกแบบของเครื่อง

คิดแบบ USER

USER มีหลายแบบ และมีมุมมองที่หลากหลายต่างไปจากการมองของ GEEK เช่น คนชอบถ่ายรูป เขาจะไม่ได้ดูว่า CPU ROM RAM เท่าไหร่ แต่จะดูไปที่กล้อง ถ่ายชัดแค่ไหน มือถือยี่ห้ออะไร  ….โดยเฉพาะยี่ห้อ มักจะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ  iPhone – iPad  ถึงขายดีอย่างถล่มทลาย และมักจะถูกเป็นตัวเลือกต้นๆ ของคนที่มีเงินซื้อ รองลงมาเป็นมือถือที่มีแบรนด์ใหญ่ เช่น Nokia Samsung  รองลงมาเป็นแบรนด์ท้องถิ่นอย่าง i-mobile  Gnet ฯลฯ

USER ถูกแบ่งออกได้อีกหลายกลุ่มมาก เช่นแบ่งตามอาชีพ  แม่บ้าน ช่างก่อสร้าง  นักศึกษา  นักออกแบบ  แต่ละคนจะมีแนวคิดที่เลือกมือถือแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้มือถือทำอะไรนอกจาก  “โทร” และ งบประมาณ มีเท่าไหร่

USER มักเลือกมือถือตามความต้องการพื้นฐาน เช่น ฟังวิทยุ ถ่ายรูป ดูทีวี เล่นอินเตอร์เน็ต  …ส่วน OS และขุมพลังของเครื่องเป็นสิ่งที่อยู่นอกกรอบความคิด  แต่จะคิดว่าอะไรเหมาะกับการใช้งานที่สุด

การออกแบบตัวเครื่องก็สำคัญต่อการตัดสินของ USER รูปทรง สีสัน และลวดลายต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจ  ดังจะเห็นว่ามือถือระดับล่างนั้น ส่วนใหญ่ผลิตมาแบบหลายสีมากๆ

สรุป

จะคิดแบบ Geek หรือ User ล้วนมีเป้าหมายเดียวกันคือเพื่อให้ได้เครื่องที่ตัวเองชอบ ซึ่งบางครั้งแม้ว่าเลือกมาแล้ว ใช้ไปอาจจะรู้ว่าไม่เหมาะกับตัวเอง เห็นเครื่องใหม่ดีกว่าก็ขายไป แบบนี้มีถมไป  ถ้าถามผมว่าเป็นคนเลือกแบบไหน ตอบว่าทั้สองอย่างครับ ตอนที่ซื้อ iPad ผมไม่ดูสเปกอะไรเลย ของแค่ว่ามันคือ iPad แท็ปเล็ทที่ผลิตโดย Apple แต่ตอนซื้อมือถือผมมองแบบ Geek นะ เพราะใช้ Android อยู่  เพียงแต่สเปกที่เลือก ก็เลือกที่เหมาะกับการใช้งาน

]]>
http://makky.in.th/976/feed/ 2
แนวคิดเขียนบล็อก : การสร้างความเชื่อ http://makky.in.th/945/ http://makky.in.th/945/#comments Wed, 14 Sep 2011 14:26:26 +0000 http://makky.in.th/?p=945

บล็อกใหม่หลายๆบล็อก ไม่ทันเกิดก็มาดับ เพราะตกม้าตายที่ “เนื้อหาบล็อก” เอง คือเนื้อหามันมั่วเกินไป ไม่มีความชัดเจน ทำให้คนที่เข้ามาอ่านเขาไม่รู้ว่าจะเข้ามาทำอะไรต่อ คือไม่ได้สร้างเป้าหมายการเข้ามาครั้งต่อไป  เหมือนตอนที่สร้าง Maahalai.com ช่วงแรกๆ แม้แต่คนเขียนเองก็ไม่รู้จะเขียนอะไร

เรื่องที่แนะนำ

  1. ถ้าทำเว็บวันนี้ จะได้เงินวันไหน
  2. แนวคิด : เขียนบล็อก+สร้างแบรนด์
  3. เทคนิคการเขียนบล็อก ประเภท “รีวิวแอพพลิเคชั่น”
  4. ความรู้ที่เห็นในเว็บไซท์ คุณไว้ใจได้แค่ไหน
  5. ความรู้ที่มีทั้งหมด ในการสร้างและจัดการเว็บ
  6. เครื่องมือและโปรแกรมทั้งหมดที่ผมใช้ทำเว็บ

ตัวอย่างบล็อกที่มีความชัดเจนให้คนอ่าน เช่น

Fail.in.th = ตลก

Blognone.com = ไอที

9tana.com = ไอที

faceblog.in.th = โซเชียลเน็ตเวิร์ค

นี่เป็นตัวอย่างของบล็อก “เฉพาะทาง” ที่ทำให้คนอ่านมีเป้าหมายการเข้ามาครั้งต่อไปอย่างชัดเจน บล็อกเหล่านี้มีสีสันเฉพาะทาง มีเอกลักษณ์ และความรู้ของคนเขียน ที่ใครจะมาทำเลียนแบบได้ยาก …ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิด “ความเชื่อ” ของคนที่เข้ามาอ่านว่าเขาเชื่อเรา เขาเชื่อในสิ่งที่เราทำ  เชื่อว่าบล็อกเราเป็น “ตัวจริงเรื่องนี้”

ผลของความเชื่อ คือเมื่อบล็อกเราเป็นตัวจริง สิ่งที่ตามมาคือการ Follow ตาม Twitter Google+ Facebook และการเข้ามาติดต่อสอบถามเกี่ยวกับสาระในบล็อก เข้ามาสอบถาม พูดคุย  ประหนึ่งว่าเป็นกูรูในด้านนั้น และในบทสนทนานั้นเอง จะช่วยปรับปรุงการเขียนบล็อกครั้งต่อไปได้อีกด้วย

ความเชื่อคือการระลึกถึง เมื่อคนเชื่อ เขาก็จะนึกถึงบล็อกเรา เมื่อเขานึกถึงเรื่องที่เกี่ยวข้อง  ภาพบล็อกของเราก็จะผุดขึ้นมา  ดังนั้นนอกจากเนื้อหาแล้ว การออกแบบธีมเว็บจะเป็นส่วนสำคัญ ต่อการสร้างความเชื่อ ด้วย “สีประจำเว็บเว็บ” สีจะทำให้คนจำเราง่าย

นอกจากสีประจำเว็บ การออกแบบธีมให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาจะช่วยเพิ่มความหนักแน่น ให้กับบล็อก เช่น บล็อกทำอาหาร บล็อกไอโฟน บล็อกคนรักสนัข  แค่ชื่อบล็อกก็น่าจะพอเดาๆออกนะว่า องค์ประกอบธีมบล็อกมันควรมีอะไร

สรุปแนวคิดสร้างความเชื่อ

  1. สาระของบล็อกมีความชัดเจนว่าจะไปทิศทางใด
  2. บล็อกมีโทนสี ที่เป็นสีประจำบล็อก
  3. รูปแบบธีมสัมพันธ์กับสาระของบล็อก
อาจเป็นข้อยกเว้น
การเขียนบล็อกส่วนตัว เว็บบอร์ด เว็บวาร์ไรตี้ อาจจะใช้อีกแนวคิดหนึ่ง เพราะสาระของเว็บจะค่อนข้างกว้างมากกว่าบล็อกเฉพาะทาง ที่มีเป้าหมายการเดินทางที่ชัดเจน  แต่การที่บล็อกสาระมากมาย ไม่เน้นว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ  การสื่อสารกับคนอ่านจะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง
]]>
http://makky.in.th/945/feed/ 1
แนวคิด : เขียนบล็อก+สร้างแบรนด์ http://makky.in.th/824/ http://makky.in.th/824/#comments Sun, 14 Aug 2011 18:03:05 +0000 http://makky.in.th/?p=824
แต่ละบล็อกและเว็บต่างๆที่ผมทำ ผมจะให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์มากๆ แต่ครั้งแรกที่ผมเขียนบล็อกไม่ใช่แบบนั้น ก่อนจะมาถึงวันนี้สิ่งที่ผมผ่านคือการเขียนบล็อกมาหลายๆแบบ เขียนข่าว แต่งกลอน เล่าประสบการณ์ สารพัดเลยครับ ในช่วงแรกที่ผมสร้างงานเขียนออนไลน์คือ บล็อกกระปุก Myspace และ Blogspot

การเขียนบล็อกในตอนนั้นผมอ้างอิงกับแบรนด์อื่น ไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง เขียนที่อยากจะเขียน …แต่ในปัจจุบัน มีบล็อกเกิดขึ้นมากมาย แล้วก็มีการลอกกันไปก็อปกันมา หลายๆเรื่องไม่สามารถหาต้นฉบับได้ บล็อกยุคใหม่จึงมีลักษณะมีแบรนด์เป็นของตัวเอง

แบรนด์คือเอกลักษณ์ของบล็อก ที่จะหาไม่ได้จากบล็อกอื่นๆ เอกลักษณ์ของบล็อกจะประกอบไปด้วยหลายๆอย่างรวมกัน เช่น โทนสี การออกแบบ ลักษณะเนื้อหา ภาษาที่ใช้ และการสื่อสารออกมา รวมๆกันมันเป็น “แบรนด์”

แบรนด์ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ภายนอก แต่มันคือความรู้สึก ของคนอ่าน ว่ารู้สึกอย่างไรกับแบรนด์ เช่น สนุก ตลก ดราม่า สาระ จริงจัง บางแบรนด์มีครบทุกรส อย่างเว็บ sanook  kapook. หรือถ้านึกถึงเรื่องดราม่าประเด็นต่างๆ คงไม่พ้น pantip กับ Drama-addict นึกถึงเรื่องเฟลๆฮาก็เว็บ Fail นึกถึงคลิปนึกถึง Youtube นึกถึงกีฬา siamsport. ฯลฯ

แบรนด์มีความแคบ หลายๆบล็อกที่มีชื่อเสียงจะเป็นเรื่องเฉพาะทาง และเป็นเรื่องของความบันเทิง ส่วนบล็อกที่ให้ความรู้ส่วนใหญ่เป็นสาระไอที หลายๆบอกของผมก็เป็นไอที. ที่บล็อกส่วนใหญ่เป็นเรื่องไอที เพราะคนวงการอื่นๆจะทำเว็บได้ลำบาก ที่ทำได้ส่วนมากจะเป็นบล็อกฟรีที่ไม่ต้องเรียนด้านไอทีก็ทำได้ บล็อกที่เขียนเรื่องอื่นนอกจากเรื่องไอทีส่วนใหญ่จึงไม่มีแบรนด์ที่โดดเด่นนัก

สำหรับแนวคิดการสร้างบล็อก+แบรนด์ของผมเอง ผมให้ความสำคัญกับความรู้ และสาระที่นำไปใช้ได้ทันที และเขียนเอง และภาษาที่ใช้เขียนจะกึ่งๆว่าเป็นทางการ แล้วแต่ละบล็อกผมจะกำหนดสีให้แตกต่าง ไม่ให้เหมือนกัน เช่น Droidza สีฟ้า Maahalai สีชมพู ThaiPad สีดำ เพื่อให้จำง่าย

แนวคิดอีกอย่าง ในส่วนของบล็อกที่ผมสร้างคือไม่ปิดบังตัวตน ไม่แอบซ่อน แต่ไม่ได้เผยทุกอย่าง เช่นเดียวกับคนทำบล็อกคนอื่นๆ บางบล็อกมีกันเป็นทีมงาน เปิดเผยชัดเจนว่าเป็นใคร เพราะไม่มีอะไรต้องกลัวหากการทำบล็อกอยู่ในการยอมรับของคนในวงการ. …การเผยตัวตนจะอยู่ในลักษณะของเฟสบุ๊ค ทวิทเตอร์

บล็อกและเว็บที่จะไม่ได้รับการยอมรับจะเป็นบล็อกที่แจกโปรแกรมเถื่อน นอกจากจะผิดกฏหมาย ยังถูกมองในเชิงลบ ผมให้ความสำคัญกับตรงนี้ แม้ว่าการแจกโปรแกรมเถื่อนจะทำให้เว็บเกิดเร็ว แต่โปรแกรมเถื่อนจะทำให้บล็อกของคุณเถื่อนไปด้วย

สุดท้าย คือ ความเชื่อมั่น แบรนด์คือความเชื่อ เชื่อว่าบล็อกนี้ฮา เชื่อว่าบล็อกนี้มีสาระที่น่าสนใจ เชื่อว่าบล็อกนี้พูดจริง ฯลฯ ยิ่งเขียนได้ลึกความเชื่อในบล็อกก็จะมีมาก อันส่งผลต่อแบรนด์ เพราะในโลกยุคปัจจุบันคนให้ความสำคัญกับแบรนด์

]]>
http://makky.in.th/824/feed/ 5