วิธีตรวจสอบ “เรื่องจริง” กับ “ข่าวลือ”

makky-013-iPhone5

ข่าวลือกับข่าวมั่วยังงัยก็ใช้ได้ผล กับการหลอกมนุษย์ในปัจจุบัน และอนาคต ขนาดว่า iPhone 5 ก็มีคนหลอกให้ซื้อกันมาแล้ว  ข่าวลือหลายเดือนก่อนว่า Facebook จะปิดตัว เชื่อกันเป็นตุเป็นตะ เชื่อกันแบบฝังใจก็มี แต่ตอนนี้หน้าแหกไปแล้ว เพราะมันไม่จริง

ผมมีวิธีตรวจสอบง่ายๆ ในแบบของผม ว่ามันจริงหรือน่าจะไม่จริง

– ข่าวที่ออกมาบอกนั้น ใครเป็นคนพูด คนพูดมีส่วนเกี่ยวข้องกับกับเรื่องนั้นหรือไม่ เช่นบอกว่า Facebook จะปิดตัว ถ้าเป็นผู้บริหารเฟสบุ๊คออกมาพูด มันก็จะเป็นเรื่องที่มีความน่าเชื่อถือ แต่ถ้าเป็นใครไม่รู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Facebook เลย ให้ฟังหูไว้หู

– คนพูดเขาเชี่ยวชาญด้านไหน เช่นข่าวลือเกี่ยวกับพวก IT แต่คนพูดทำงานในสายงานวัฒนธรรม  ซึ่งมันก็อาจจะจริง  แต่ถ้าคนที่อยู่ในสายงาน IT ออกมาบอก มันดูน่าเชื่อถือกว่ากันเยอาะ

– หลักฐาน มันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดนะ ว่าเรื่องที่พูดกัน มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน จริงไม่จริงวัดกันที่หลักฐานที่มี

วิธีการเหล่านี้ผมได้มาจากสมัยที่เรียนประวัติศาสตร์ ม.มหาสารคาม แล้วเอามาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และการทำเว็บไซท์  เพราะงานทำเว็บคือการสื่อสาร เป็นเผยแพร่ไปกับคนหมู่มาก  ถ้ามีข่าวออกมาก็ต้องรอบครอบ ไม่ฟันธงอะไร 100% ถ้าไม่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันว่าเป็นจริง

Facebook Comments