ประวัติศาสตร์ไทย – Makky.in.th http://makky.in.th ถึงเวลา เดี๋ยวเรื่องก็มาเอง Wed, 31 Aug 2016 09:05:26 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.1.4 เปิดโปรเจค “เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยแบบ Timeline” http://makky.in.th/2273/ http://makky.in.th/2273/#comments Wed, 19 Sep 2012 22:39:17 +0000 http://makky.in.th/?p=2273 อยากทำอะไรที่ตามใจตัวเองบ้าง และในรอบนี้ผมได้ทำแฟนเพจ “Thai History” เป็นการเรียงลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แบบ Timeline โดยคอนเซปก็คือ ใช้แฟนเพจเป็นเครื่อง Time-Machine ย้อนเวลากลับไปหาอดีตได้ในไม่กี่คลิ๊ก และไล่ดูลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีการเชื่อมต่อกัน แต่อาจจะไม่เป็นเรื่องเป็นราวนัก เพราะจะเน้นเหตุการณ์สำคัญๆเป็นหลัก เกร็ดประวัติศาสตร์ที่มีอยู่มากมาย อาจจะไม่ได้นำมาใส่ทั้งหมด

สนใจเข้ามาที่ > https://www.facebook.com/th.timeline

makky-A158

ทำไมถึงเป็น Thai History
ที่ผมใช้คำภาษาอังกฤษไม่ใช้ภาษาไทย ก็เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาสำหรับทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ผมมองไปถึงอนาคตที่จะเราจะเป็น AEC เพจนี้อาจจะมีระบบ 2 ภาษาก็เป็นได้

ที่มาของการทำ
คิดง่ายๆเลย เพราะ Facebook มันคือ Timeline แค่นำเนื้อหาประวัติศาสตร์มาใส่ ก็กลายเป็นประวัติศาสตร์แบบ Timeline ไปแล้ว และผู้ใช้เฟสบุ๊คก็เข้าใจคอนเซปของ Timeline อยู่แล้ว จึงใช้ไม่ยาก

makky-A159

สาระภายในเพจ
ผมเน้น “ประวัติศาสตร์” ครับ คัดมาแบบเนื้อๆ คัดเอาเหตุการณ์สำคัญๆ เรื่องเล็กๆอาจจะไม่มีในเพจ และที่สำคัญผมพยายามคัดเอาเนื้อหาที่ปราศจากความคิดแบบ “ชาตินิยม” และอคติทางการเมือง …ไม่มีการบิดพริ้วประวัติศาสตร์ และข้อมูลต้องไม่ลึก จนเข้าใจยาก

ข้อจำกัด
ผมลองเข้าดูผ่านแอพแล้วดูเหตุการณ์ต่างๆไม่ได้เลย ต้องเข้าผ่านหน้าเว็บถึงจะดูได้ …เสียดายตรงนี้แหล่ะ

อนาคต
ตอนนี้ผมทำอยู่คนเดียว แต่เปิดโอกาสให้คนร่วมส่งข้อมูลเข้ามาผ่าน INBOX และจะรับสมัครแอดมินเพิ่ม โดยคนที่จะมาเป็นแอดมินเพื่อกำกับและดูแลข้อมูลต้องจบประวัติศาสตร์หรือโบราณคดีมาแล้วเท่านั้น …ในข้อนี้ อย่าหาว่าใจแคบเลยนะ เพราะอยากให้เป็นเพจคุณภาพจริงๆ ไม่มีอคติด้านชาตินิยมและความคิดทางการเมืองมาบิดพริ้วความจริงทางประวัตืศาสตร์

ทำแล้วได้อะไร
ตอนนี้ทำเอามันส์ และอยากให้เป็นประโยชน์สำหรับหลายๆคนที่สนใจประวัติศาสตร์ ทำให้เสียค่าแรงไปฟรีๆ

]]>
http://makky.in.th/2273/feed/ 7
พฤติกรรมการเข้าชม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม ตอนที่ 5 http://makky.in.th/670/ http://makky.in.th/670/#comments Fri, 15 Jul 2011 22:11:06 +0000 http://makky.in.th/?p=670

2.2 รูปแบบการจัดพิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม

2.2.1 พื้นที่การจัดแสดง

นิทรรศการถาวรถูกจัดแสดงที่อาคารกระทรวงพาณิชย์เดิม  ภายในมิวเซียมสยามเป็นอาคาร 3 ชั้น มีห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวรทั้งหมด 17 ห้อง ภายใต้หัวข้อ “เรียงความประเทศไทย”

การจัดแสดง

การจัดพื้นที่ภายในแบ่งเป็นเนื้อหาย่อย 17 ธีม ในรูปแบบ “เรียงความประเทศไทย” ให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่

 

1.            ตึกเก่าเล่าเรื่อง

2.            เบิกโรง (Immersive Theater)

3.            ไทยแท้ (Typically Thai)

4.            เปิดตำนานสุวรรณภูมิ (Introduction to Suvarnabhumi)

5.            สุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi)

6.            พุทธิปัญญา (Buddhism)

7.            กำเนิดสยามประเทศ (Founding of Ayutthaya)

8.            สยามประเทศ (Siam)

9.            สยามยุทธ์ (War Room)

10.          แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ (Map Room)

11.          กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา (Bangkok, New Ayutthaya)

12.          ชีวิตนอกกรุงเทพฯ (Village Life)

13.          แปลงโฉมสยามประเทศ (Change)

14.          กำเนิดประเทศไทย (Politics & Communications)

15.          สีสันตะวันตก (Thailand and the World)

16.          เมืองไทยวันนี้ (Thailand Today)

17.          มองไปข้างหน้า (Thailand Tomorrow)

 

ห้องจัดแสดง

ห้องจัดแสดงมีทั้งหมด 17 ห้องโดยเริ่มชมตั้งแต่ชั้นที่ 1 3 และ 2 ตามลำดับ โดยการเข้าชมผู้ชมจะต้องซื้อตั๋วก่อนและรอเวลาเพื่อเข้าชมห้องเบิกโรง  แต่ระหว่างรอเข้าห้องเบิกโรงผู้ชมสามารถเข้าชมห้องตึกเก่าเล่าเรื่องก่อนได้

 

ชั้น 1

ภาพ : ตึกเก่าเล่าเรื่อง

  • ตึกเก่าเล่าเรื่อง ห้องจัดแสดงความเป็นมาของอาคารกระทรวงพาณิชย์เดิม การบูรณะซ่อมแซม รวมถึงการกลายเป็นมิวเซียมสยามในปัจจุบัน

ภาพ : ห้องเบิกโรง

  • เบิกโรง ห้องฉายภาพยนตร์สั้นเพื่อนำเข้าสู่การชมมิวเซียมสยาม ผ่านตัวละครต่าง ๆ

ภาพ : ห้องไทยแท้

  • ไทยแท้ ห้องแสดงวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของไทย พร้อมการไขว่าแท้ที่จริงแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นของไทยแท้หรือไม่

ชั้น 3

ภาพ : ห้องเปิดตำนานสุวรรณภูมิ

  • เปิดตำนานสุวรรณภูมิ ห้องจัดแสดงที่ตั้งของดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ชาติพันธุ์ในดินแดนนี้ และวิธีการขุดค้นหลักฐานทางประวัติศาสตร์

ภาพ : ห้องสุวรรณภูมิ

  • สุวรรณภูมิ ห้องจัดแสดงความเป็นอยู่ของผู้คนในสุวรรณภูมิ การติดต่อกับต่างประเทศ และหลักฐานประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิ

ภาพ : ห้องพุทธิปัญญา

  • พุทธิปัญญา ห้องแสดงหัวใจพระพุทธศาสนาและเรื่องราวที่แสดงถึงสัจจธรรม

ภาพ : ห้องกำเนิดสยามประเทศ

  • กำเนิดสยามประเทศ ห้องแสดงเรื่องราวความเป็นมาอาณาจักรต่าง ๆ ในดินแดนสยาม และตำนานต้นกำเนิดกรุงศรีอยุธยา

ภาพ : ห้องสยามประเทศ

  • สยามประเทศ ห้องแสดงเรื่องราวความเป็นอยู่ในสมัยอยุธยา และรูปจำลองเรือแบบต่าง ๆ ตั้งแต่เรือพื้นบ้านถึงเรือพระราชพิธี

ภาพ : ห้องสยามยุทธ์

  • สยามยุทธ์ ห้องแสดงรูปแบบการรบ กำลังพล และการทำสงครามในสมัยอยุธยา

 

ชั้น 2

ภาพ : •  แผนที่ : ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ

  • แผนที่ : ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ ห้องแสดงแผนที่ประเทศไทยในสมัยต่าง ๆ

ภาพ : กรุงเทพ ภายใต้ฉากอยุธยา

  • กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา ห้องแสดงเรื่องราวเมื่อสิ้นกรุงศรีอยุธยา เริ่มตั้งกรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ การอพยพของคนชาติต่าง ๆ ในสยาม และการเปรียบเทียบว่ากรุงรัตนโกสินทร์เหมือนกับกรุงศรีอยุธยาอย่างไร

ภาพ : ห้องชีวิตนอกกรุง

  • ชีวิตนอกกรุงเทพฯ ห้องแสดงวิถีชีวิตของคนในชนบทนอกกรุงเทพฯ โดยมีเรื่องข้าวเป็นหลัก
  • แปลงโฉมสยามประเทศ ห้องแสดงการเปลี่ยนแปลงสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 และเรื่องราวของถนนเจริญกรุง

ภาพ : ห้องกำเนิดประเทศไทย

  • กำเนิดประเทศไทย ห้องแสดงเรื่องราวในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย

ภาพ : ห้องสีสันตะวันตก

  • สีสันตะวันตก ห้องแสดงวัฒนธรรมตะวันตกที่เริ่มเข้ามาในประเทศไทย

ภาพ : ห้องเมืองไทยวันนี้

  • เมืองไทยวันนี้ ห้องอุโมงค์กระจกขนาดใหญ่ มีโทรทัศน์ขนาดเล็กรายล้อมทั่วห้อง

ภาพ : ห้องมองไปข้างหน้า

  • มองไปข้างหน้า ห้องสำหรับแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าชม ด้วยระบบคอมพิวเตอร์แสดงข้อความบนผนัง

2.2.2 สื่อจัดแสดง

สื่อที่มิวเซียมสยามใช้ในการจัดนิทรรศการ  นับว่าเป็นจุดเด่นที่ทำให้มิวเซียมสยามเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์มีความแตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ทั่วไป  เพราะมีการใช้สื่อที่หลากหลาย  ทันสมัย และสวยงาม  รูปแบบของสื่อจัดแสดงหลักๆมีดังนี้

 

สื่อมัลติมีเดีย เป็นส่วนประกอบที่ทำให้มิวเซียมสยามมีความน่าสนใจและกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัย ทุกห้องที่จัดแสดงจะมีสื่อมัลติมีเดีย เช่น จอหนังห้องเบิกโรง  สื่อวิดีโอ  สื่อวิดีโอเกมส์

โมเดล มิวเซียมสยามเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เต็มไปด้วยโมเดลหรือรูปจำลองย่อส่วนของวัตถุต่างๆ

ตู้จัดแสดง ตู้จัดแสดงส่วนใหญ่จะใช้กับวัตถุสำคัญๆหรือวัตถุที่ต้องการให้ดูเด่น เช่น เครื่องประดับ

แผงนิทรรศการ แผงที่ติดตั้งเป็นนิทรรศการถาวร ประกอบไปกับการจัดแสดงสิ่งต่างๆ เช่น ภาพ วิดีโอ โมเดล ฯลฯ

 

2.2.3 การให้บริการข้อมูลของมิวเซียมสยาม

การให้บริการข้อมูลในเชิงความรู้ของมิวเซียมสยามมีสามช่องทางหลัก ได้แก่ เว็บไซท์  สังคมเครือข่ายออนไลน์

 

เว็บไซท์

เว็บไซท์ของมิวเซียมสยามนอกจากจะให้ข้อมูลในเชิงอัพเดทข่าวสารล่าสุดแล้ว  ยังให้เกร็ดความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนิทรรศการเช่น ที่มาของลูกปัด ที่มาของคนกบแดง รวมทั้งได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับนิทรรศการถาวรในรูปแบบของโครงสร้างนิทรรศการเพื่อให้ผู้ชมได้ศึกษาก่อนได้เข้าชมจริง  และอีกรูปแบบของการให้ความรู้ในเว็บไซท์ของมิวเซียมสยามคือ Youtube ซึ่งเป็นบริการวิดีโอหรือคลิปออนไลน์ สำหรับ Youtube ของมิวเซียมสยามเป็นคลิปย้อนหลังของรายการพิพิธเพลินในตอนต่างๆ ซึ่งในแต่ละตอนของรายการพิพิธเพลินจะเป็นการพาผู้ชมไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เช่น พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน พิพิธภัณฑ์บ้านวงศ์บุรี พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี  พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติร้อยเอ็ด เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการให้ความรู้ผ่านคลิปวิดีโอ Youtube นั้นยังทำได้ไม่ดีพอเนื่องจากจำนวนผู้ชมคลิปวิดีโออยู่ในเฉลี่ยที่น้อยมาก  แม้ว่ากลุ่มเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์หรือเด็กนักเรียนจะชอบดูคลิปวิดีโอก็ตาม

 

สังคมเครือข่ายออนไลน์

มิวเซียมสยามได้ใช้ Facebook กับ Twitter เป็นช่องทางออนไลน์ในการสื่อสารกับสังคมออนไลน์โดยที่ Face Book Fanpage ของมิวเซียมสยามมีผู้ติดตามถึง 21,843  โดยเนื้อหาที่ใช้สื่อสารเป็นการบอกเล่าความเคลื่อนไหวกิจกรรมต่างๆของมิวเซียมสยาม และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทยในแบบของมิวเซียมสยาม

]]>
http://makky.in.th/670/feed/ 4
มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ไทย แนวใหม่!! http://makky.in.th/150/ http://makky.in.th/150/#comments Mon, 01 Nov 2010 18:25:58 +0000 http://makky.in.th/150 DSCF7480_stitch

ช่วงนี้กำลังหมกมุ่นอยู่กับการทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “การดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ในทรรศนะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย” โดยพื้นที่ที่ศึกษาคือ มิวเซียมสยาม ซึ่งน่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างแหวกแนว หากนำเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์ไทยในมิวเซียมมาเทียบกับประวัติศาสตร์ไทยในตำราเรียนจะเห็นว่ามีการเล่าเรื่องที่แตกต่าง กล่าวคือประวัติศ่าตร์ไทยที่เราร่ำเรียนมาจุดศูนย์กลางของเรื่องจะอยู่ที่ราชวังหรือกษัตย์  ต่างจากประวัติศาสตร์ไทยในมิวเซียมสยามจุดศูนย์กลางของเรื่องจะอยู่ที่ “ราษฏร” หรือประชาชนทั่วไทย

สำหรับคนทั่วไทยมันคือ แนวใหม่!! แต่กับคนที่จบเอกประวัติศาสตร์มาอย่างผมมันก็ธรรมดา ไม่ได้มีอะไรผิดแผกแปลกไปจากเดิมมากนัก มันเหมือนเป็นเรื่องที่รู้กันทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะประวัติศาสตร์ไทยที่ผมเรียนมา ไม่ใช่การศึกษาเรื่องกษัติย์ สงคราม และราชวงศ์เท่านั้น หากแต่ได้เรียนเรื่องของคนในอดีต คนท้องถิ่นหรือราษฏรทั่วไปที่เป็นจุดเกิดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เพียงแต่บทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่องมาจากราชสำนัก

ความใหม่ของประวัติศาสตร์ไทยที่เห็นได้จากมิวเซียมสยามเล่าเรื่องประวัติศาสตร์โดยไม่ได้เรียงลำดับว่าประเทศไทยได้เริ่มมาจากยุคสุโขทัย อย่างที่เคยเรียนในสมัยมัธยม (ทั้งๆที่อาณาจักรศรีวิชัยทางภาคใต้นั้นเก่าแก่กว่า หรืออาณาจักรโบราณอื่นๆ) แต่ได้เริ่มต้นคำถามว่าอะไรคือความเป็นไทย ไทยแท้คืออะไร จนกระทั่งดูนิทรรศการจบก็น่าจะได้คำตอบว่าไทยคือความหลากหลายของผู้คนหลากหลายชาติพันธ์ที่มาอาศัยพื้นที่ที่เรียกว่าไทย  หาใช่ว่าไทยแท้ต้องคนกรุงเทพหรือมีวัฒนธรรมอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งๆที่ในประเทศไทยนั้นเต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลาย และพูดกันหลายภาษา ไม่ใช่ภาษาไทยภาคกลางอย่างเดียว ฯลฯ เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังใหม่

]]>
http://makky.in.th/150/feed/ 2