นักเรียน – Makky.in.th http://makky.in.th ถึงเวลา เดี๋ยวเรื่องก็มาเอง Wed, 31 Aug 2016 09:05:26 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.1.4 พฤติกรรมการเข้าชม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม ตอนที่ 4 http://makky.in.th/667/ Fri, 15 Jul 2011 22:03:07 +0000 http://makky.in.th/?p=667

บทที่ 2

วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

งานวิจัยเรื่อง การดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ในทัศนะของวัยรุ่น เป็นการศึกษาพฤติกรรม ทัศนคติ และความคาดหวังของผู้ชมที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น  เพื่อหาแนวทางการทำพิพิธภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับวัยรุ่น  ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้

 

2.1 ความเป็นมาและบทบาทของมิวเซียมสยาม

2.2 รูปแบบการจัดพิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม

2.3 แนวคิดการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์

×          แนวคิดการสื่อสาร

×          แนวคิดการจัดนิทรรศการ

×          แนวคิดการบริการข้อมูล

2.4 แนวคิดและรูปแบบการจัดพิพิธภัณฑ์ที่พึงประสงค์

2.5 ทฤษฏีการรับรู้และการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์

2.6 แนวคิดพิพิธภัณฑ์กับผู้ชม

2.7 แนวคิดด้านทัศนคติและความคาดหวัง

2.9 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.10.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคาดหวัง

2.11.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเข้าชม

 

2.1 ความเป็นมาและบทบาทของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

 

2.1.1 ความเป็นมา

คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) เป็นหน่วยงานเฉพาะด้าน  สังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 เพื่อกำกับดูแลการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ขนาดใหญ่ของประเทศ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างรื่นรมณ์  และยกระดับมาตราฐานรูปแบบใหม่ให้ประชาชน  โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน  เกี่ยวกับการสร้างสำนึกในการรู้จักตนเอง รู้จักเพื่อนบ้าน  และรู้จักโลก รวมถึงแนวคิดการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของพิพิธภัณฑ์ในสังคมไทย  นอกจากนี้สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติมีบทบาทสนับสนุนและร่วมมือเป็นเครือข่ายกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ เพื่อยกระดับมาตราฐานกระบวนการเรียนรู้  และกระบวนการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ไทยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น[1]

 

 

 

ภาพ : คนกบแดง สัญลักษณ์สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

 

คนกบแดงและความหมาย

คนทุกคนมีกำเนิดมาตัวเปล่าทั้งนั้น ยุคแรกเริ่มยังไม่รู้จักทำเครื่องนุ่งห่ม จึงเป็นคนเปลือย เลยถูกเรียกจากคนอื่นที่มีอารยธรรมสูงกว่าว่า นาค (นาคก็คืองู ไม่มีขน ไม่มีเกล็ด มีแต่หนังหุ้มและลอกได้ ตามกำหนด ทั้งหมดเท่ากับเปลือยเปล่า และเป็นสัญลักษณ์ของน้ำที่อยู่ใต้ดิน คือบาดาล กับบนฟ้า คือสวรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในอุษาคเนย์ต้องการเพื่อใช้เพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารตาม ฤดูกาล) ฉะนั้น ตราสัญลักษณ์ จึงเป็นรูปคนที่ไม่ระบุเพศและเผ่าพันธุ์

รูปคนยืนกางแขน กางขา ทำท่าเป็นกบ เพราะกบ (รวมทั้งอึ่งอ่าง คางคก เขียด) เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ โดยเฉพาะน้ำฝน จึงมีรูปกบอยู่บนหน้ากลองทอง (สัมฤทธิ์) หรือมโหระทึกของอุษาคเนย์ เพราะเป็น เครื่องมือเครื่องใช้ประโคมตีในพิธีกรรมขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของชนทุก เผ่ายุคดึกดำบรรพ์ ไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว

นอกจากยกย่องกบเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์แล้ว คนในชุมชนยังร่วมกันเต้นฟ้อนทำท่าเป็นกบด้วย มีภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตาม เพิงผา และเถื่อนถ้ำตั้งแต่เขตมณฑลกวางสีถึงบริเวณประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์จึงแสดงเรื่องราวของ “คน” เพื่อให้รู้และเข้าใจรากเหง้าเหล่ากอความเป็นมาของบรรพชน ซึ่งล้วนเป็นคนพื้นเมืองของภูมิภาคอุษาอาคเนย์โบราณ คนพวกนี้ประสมประสารกันทางเผ่าพันธุ์ สังคม และ วัฒนธรรม แล้วก่อบ้านสร้างเมืองขึ้นเป็นแว่นแคว้นหรือรัฐ จนเป็นอาณาจักร แล้วดำรงเป็นประเทศสืบมาถึงทุกวันนี้

 

 

2.1.2 บทบาท

บทบาทของมิวเซียมสยามในปัจจุบัน มิวเซียมสยามเป็นพิพิธัณฑ์ที่ได้รับความนิยมจากเยาวชนและบุคคลทั่วไปหากเทียบกับพิพิธภัณฑ์ในแห่งอื่นๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นด้านการจัดแสดงแล้ว  ยังมีกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกเดือนอันแสดงถึงบทบาทของการเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ของเยาวชนและประชาชนทั่วไป

 

2.1.2.1 การจัดแสดงนิทรรศการ

นิทรรศการของมิวเซียมสยามจะมี 2  รูปแบบคือนิทรรศการถาวรและนิทรรศการหมุนเวียน โดยหลักๆแล้วการจัดนิทรรศการของมิวเซียมสยามจะเป็นการให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม  ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

 

นิทรรศการถาวร

นิทรรศการถาวรถูกจัดแสดงที่อาคารถูกจัดแสดงที่อาคารกระทรวงพานิชเดิม ภายใต้หัวข้อ “เรียงความประเทศไทย” เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของการกำเนิดสุวรรณภูมิ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและพัฒนาการของดินแดนสุวรรณภูมิจนนำมาสู่ความเป็นไทยในปัจจุบัน

 

 

นิทรรศการหมุนเวียน

นิทรรศการหมุนเวียนจะถูกจัดแสดงชั่วคราว  โดยนำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมาจัดแสดง ซึ่งเนื้อหาสาระนั้นสอดคล้องและเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเรียงความประเทศไทย เช่น นิทรรศการลูกปัด นิทรรศการจากสยามสู่ยุโรป

 

2.1.2.2 กิจกรรม

มิวเซียมสยามเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีกิจกรรมหลากหลายและจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  โดยหลักแล้วจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์วัฒนธรรม การสัมนา และการให้ความรู้ความบันเทิง

 

เสวนาและสัมนาทางวิชาการ

กิจกรรมเสวนาเป็นการเปิดเวทีพูดคุยไม่เน้นหนักวิชาการ เช่น โจรกรรมในพิพิธภัณฑ์  เนื้อร้องแบบไหนโดนใจผู้ฟัง ลูกทุ่งบนแผ่นฟิล์ม  จากหางเครื่องสู่แดนเซอร์  ส่วนที่เน้นหนักงานวิชาการจะเป็นการสัมนา เช่น  เรื่อง เครื่องรางของขลัง วัฒนธรรมชาวพุทธในสุวรรณภูมิ  ,ภาพหลอกหลอน ณ ชายแดนใต้ของไทย: การเขียนประวัติศาสตร์ปาตานีและโลกอิสลาม โดยพิพิธภัณฑ์เป็นเจ้าภาพและเชิญผู้เชี่ยวชาญบรรยายสัมนา

 

จัดอบรมให้ความรู้

มิวเซียมสยามได้จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานพิพิธภัณฑ์โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาบรรยาย เช่น อบรมเชิงปฏิบัติการการอนุรักษ์วัตถุในพิพิธภัณฑ์ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์มาเป็นอาจารย์สอนฝึกอบรม โดยกิจกรรมนี้ได้ออกไปจัดนอกสถานที่ตามภาคต่างๆด้วย

 

การแสดงดนตรี

การแสดงดนตรีเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นบ่อย โดยได้นำดนตรีแขนงต่างๆมาจัดแสดง เช่น จัดการแสดงสาธิตมโนราห์พื้นบ้าน โดย เอกชัย ศรีวิชัย, ดนตรีคลาสสิคจาก วง BSQ “Bangkok String Quartet” วงดนตรี Quartet, คอนเสิร์ต “โปรดฟังอีกครั้ง…..ตอนดนตรีใต้แสงจันทร์ โดยศุ บุญเลี้ยง”, การแสดงสาธิตลิเก โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่จัดเวลาตอนเย็น

 

กิจกรรมสำหรับเด็ก

กิจกรรมสำหรับเด็กที่พิพิธภัณฑ์จัดขึ้นมีหลายรูปแบบ เช่น พิพิธพาเพลินกับเจ้าขุนทอง ตอน มือน้อยสร้างฝัน เป็นกิจกรรมการทำหุ่น หัดเชิด หัดพากย์ และหัดเล่านิทาน เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยมที่จะชักจูงเด็กๆให้มีความสนใจในเรื่องที่กว้างขึ้น กระตุ้นความใฝ่เรียนรู้, กิจกรรมมิวเซียมสยาม ที่นี่ ไม่มีคำว่า “ห้าม”, พิพิธพาเพลิน ตอนปริศนาแห่งลูกปัด,  กิจกรรม รักษ์สายน้ำกับวันลอยกระทง, กิจกรรมชุมชนของเรากับมิวเซียมสยาม, พิพิธพาเพลิน ตอน “มหกรรมเพลงลูกทุ่ง” เป็นต้น

 

กิจกรรมอื่นๆ

กิจกรรมอื่นๆเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรมและท้องถิ่น  เช่น กิจกรรม “ประลองต่อจิ๊กซอว์ 3 มิติ”, การแสดงหุ่นนานาชาติ, กิจกรรมชุมชนของเรากับมิวเซียมสยาม, พิพิธพาเพลิน ตอน สงกรานต์สุวรรณภูมิ, พิพิธพาเพลิน ตอน ล่องเรือ เลาะคลอง ท่องชุมชน, Muse Trip

ตะลุยมหานครบางกอก เป็นต้น


[1] สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ : พื้นที่ใหม่แห่งการเรียนรู้, 2548, หน้า 2

 

]]>
บรรยายหน้าชั้นเรียนอย่างไร ให้นักเรียนหลับ http://makky.in.th/392/ Tue, 24 May 2011 22:01:37 +0000 http://makky.in.th/392 Student

ผมเคยเป็นนักเรียนนักศึกษาคนหนึ่ง ที่เคยหลับในชั้นเรียนบ้างที่มีโอกาส  หนักสุดคือหลังจากเช็คชื่อเสร็จก็นอนราบกับพื้นที่หลังห้อง (ตอนนั้นเรียน ป.ตรีซะด้วย นอนแบบไม่อายเลย) หรือตอนเป็นนักเรียน นั่งอยู่หน้าห้องผมก็เคยหลับมาแล้ว …นี่เป็นแค่น้ำจิ้ม ที่เล่ามาคือจะบอกว่าผ่านประสบการณ์การหลับคาชั้นเรียนมาอย่างโชกโชน

…บ่อยครั้งที่นอนไม่ค่อยหลับ  แต่พอได้ฟังเสียงอาจารย์บางท่านเท่านั้นล่ะ มันเหมือนมนต์สะกดที่พยายามจะข่มตาให้หลับ  โดยเฉพาะอาจารย์ที่พูดด้วยน้ำเสียงที่ฟังแล้วเหมือนฟังกายร่ายคาถาวนไปวนมา และยิ่งถ้าเป็นบรรยากาศในยามเช้าด้วยแล้ว จะช่วยเพิ่มเปอร์เซนต์การหลับในชั้นเรียนมากขึ้น

ส่วนโอกาสที่นักเรียน/นักศึกษาจะหลับในชั้นเรียนมีอยู่มาก ผมขอสรุปจากประสบการณ์ดังนี้

  • ถ้าอาจารย์สอนหนังสือแบบไม่ค่อยซักถามนักเรียนแบบจริงจังนะ สอนแบบไปเรื่อยๆ สอนพอผ่านๆ เนี่ยจะเป็นการกระตุ้นการหลับได้เป็นอย่างดี  ยิ่งถ้าเป็นช่วงเช้านะได้หลับสบายเลย
  • ถ้าเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ ประมาณร้อยกว่าที่นั่งนะ โอกาสที่จะได้ง่วงหลับในชั้นเรียนก็มีมากขึ้นอีก  เพราะเหมือนจะรู้สึกว่าอาจารย์จะดูแลไม่ทั่วถึงก็เลยกล้าหลับ
  • สอนแบบไม่มีมุขมาให้ตื่นตัว แม้จะเป็นวิชาการจัดก็จริง  ถ้าเป็นรายวิชาที่ไม่ค่อยสำคัญ  ถ้าไม่วาดรูปเล่น หรือแอบอ่านการ์ตูน และการหลับก็เป็นการฆ่าเวลาที่ยอดเยี่ยม
  • ต่อให้เรียนบนเตียงนอนก็ไม่หลับ ถ้าหากว่ามีเป้าหมายของการเรียน ในคาบนั้นๆ เช่นท้ายคาบต้องออกมารายงาน …แบบนี้ตื่นตัวได้ตลอด  ตรงกันข้ามต่อให้นักเรียนยืนเรียนก็อยากหลับ  ถ้าการเรียนในคาบนั้นๆไร้เป้าหมายที่ชัดเจน
  • ถ้าครูใจดีเกินไป ความเกรงใจของนักเรียนก็มีน้อย เพิ่มโอกาสการง่วงหลับในชั้นเรียนขึ้นมาอีก
  • ความสวยของอาจารย์จะเปรียบเสมือนกาแฟสำหรับนักเรียนชาย แต่ถ้าจะมาสอนแบบเนิบๆไปเรื่อยๆ ก็ไม่ไหวจริงๆนะ  มีความสวยเป็นต้นทุนแต่ก็ควรมีออฟชั่นเสริม เพื่อให้นัดเรียนตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
  • สื่อการสอนที่มีแต่ตัวหนังสือ และการบรรยายที่เป็นวิชาการล้วนๆ เนี่ยยานอนหลับชั้นดีเลย สำหรับผมนะ  แต่ถ้ามีเรื่องอื่นๆมาเล่าเสริม หรือมีภาพที่น่าสนใจให้ดูขณะสอน เนี่ยจะชอบมากเลย

การที่นักเรียนง่วงหลับระหว่างที่สอนอยู่  แล้วไล่ให้ไปล้างหน้าล้างตา เพื่อความสดชื่น มันเป็นการแก้ปัญหาปลายทางนะ  ต้นทางอยู่ที่การจัดการของผู้สอน ว่าเตรียมตัวทั้งสาระและเทคนิคกระตุ้นการเรียนรู้มาอย่างไร

ยังงัยก็..ให้กำลังใจคุณครูและอาจารย์นะครับ อนาคตชาติเขาจะเป็นยังไงก็อยู่ที่พวกคุณด้วยนี่แหล่ะส่วนหนึ่ง

]]>
พฤติกรรมการเข้าชม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม ตอนที่ 3 http://makky.in.th/379/ http://makky.in.th/379/#comments Tue, 24 May 2011 06:25:04 +0000 http://makky.in.th/379 Meseum

1.2 วัตถุประสงค์ในการวิจัย

1.2.1 ศึกษาพฤติกรรมการเข้าชมมิวเซียมสยามของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

1.2.2 ศึกษาทัศนคติและความคาดหวังของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อมิวเซียมสยาม

1.2.3 เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปสู่การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์เหมาะสมกับวัยรุ่นต่อไป

1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

5.1 ได้ทราบถึงทัศนคติและความคาดหวังที่กลุ่มวัยรุ่นมีต่อพิพิธภัณฑ์

5.2 สามารถนำผลการศึกษาไปใช้เป็นพื้นฐานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์

1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ

การดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ หมายถึง การดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ในด้านการสื่อสาร นิทรรศการ งานบริการที่สอดคล้องกับพฤติกรรม ทัศนคติและความคาดหวังของผู้ชมกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย หมายถึง กลุ่มผู้ชมที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ

ทัศนคติ หมายถึง ความคิดและความรู้สึกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อพิพิธภัณฑ์ในด้านการสื่อสาร นิทรรศการ และงานบริการของพิพิธภัณฑ์

ความคาดหวัง หมายถึง ความต้องการที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีต่อพิพิธภัณฑ์ในด้าน การสื่อสาร นิทรรศการ และงานบริการของพิพิธภัณฑ์

1.5 พื้นที่ภาคสนามสำหรับการวิจัย

มิวเซียมสยาม : เลขที่ 4 ถนนสนามไชย เขตพระนคร จ.กรุงเทพฯ 10200

เวลาทำการ วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 18.00น.

1.6 แหล่งข้อมูลสำหรับการค้นคว้าเก็บข้อมูล

แหล่งสำหรับการค้นคว้าข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุดสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ

]]>
http://makky.in.th/379/feed/ 10
พฤติกรรมการเข้าชม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม ตอนที่ 2 http://makky.in.th/375/ http://makky.in.th/375/#comments Tue, 24 May 2011 06:01:31 +0000 http://makky.in.th/375 DSCF7791

หากกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมไทยกับพิพิธภัณฑ์แล้ว ถือว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยจะสู้ดีนักเมื่อพื้นที่ภายในพิพิธภัณฑ์นั้นมีความจำกัด ไม่ได้เป็นพื้นที่ที่รองรับการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย แต่ก็ยังมีพิพิธภัณฑ์ที่สัมพันธ์กับกลุ่มคนอยู่ เช่น พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นเด็กนักเรียน มิวเซียมสยามกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นเยาวชนและคนรุ่นใหม่ ฯลฯ พิพิธภัณฑ์ที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนส่วนใหญ่ส่วนใหญ่ดำเนินงานในเชิงธุรกิจและอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งนับว่าเป็นส่นน้อยหากเทียบกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นทั่วประเทศที่มีมากถึงพันแห่ง พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ตั้งกลุ่มเป้าหมายเป็นคนในพื้นที่หรือประเภท “ประชาชนทั่วไป” ทำให้กระบวนการสื่อสารที่มาจากตัวนิทรรศการเองไม่ได้มีความเหมาะสมกับกลุ่มคนที่หลากหลาย เพราะมีลักษณะค่อนข้างเป็นกลาง บุคลิกของพิพิธภัณฑ์จึงมีลักษณะเป็นผู้ใหญ่มากกว่าหาแรงจูงใจคนกลุ่มอื่นๆไม่ได้

วัยรุ่นเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มักจะหาพื้นที่ไม่ได้ในพิพิธภัณฑ์ มีพิพิธภัณฑ์เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ได้เหมาะสำหรับพวกเขา ทั้งๆที่เป็นกลุ่มคนที่สำคัญพอๆกับกลุ่มเด็กซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ในอนาคต พวกเขามีส่วนสำคัญที่จะสร้างวัฒนธรรมใหม่นั่นก็คือการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์เพราะในปัจจุบันการเข้าชมพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ยังไม่ใช่วัฒนธรรมของคนไทยอย่างแท้จริง กลุ่มวัยรุ่นต่างจากกลุ่มเด็กตรงที่พวกเขามีอิสระมากกว่าซึ่งพิพิธภัณฑ์สามารถใช้โอกาสตรงนี้ดึงพวกเขาไปเป็นผู้ชมได้ หากมองถึงพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยแล้วมีเพียงไม่กี่แห่งที่เปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มวัยรุ่น เช่น หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ ที่ตั้งอยู่ในย่านศูนย์กลางของวัยรุ่นซึ่งอยู่ไกล้กับมาบุญครองและสยามพาราก้อน เป็นย่านหนึ่งที่วัยรุ่นมาเที่ยวมากที่สุด โดยลักษณะของการจัดแสดงศิลปะที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพนั้นให้อิสระแก่ผู้ชมมากกว่าหอศิลป์ทั่วไป และมิวซียมสยามเป็นพิพิธภัณฑ์อีกแห่งหนึ่งที่มีกลุ้มวัยรุ่นเข้าชมมากที่สุด เพราะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีความทันสมัยเต็มไปด้วยสีสันและความแปลกใหม่ดึงดูดวัยรุ่นมาดูพิพิธภัณฑ์ได้จำนวนไม่น้อย แม้ว่ามิวเซียมสยามจะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แต่การนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้พร้อมทั้งปรับแต่งสื่อการจัดแสดงให้ดูแปลกตาสวยงาม มิวเซียมสยามจึงเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของวัยรุ่นได้ดี ซึ่งพิพิธภัณฑ์ประเภทนี้ยังถือว่าเป็นส่วนน้อยหากเทียบกับพิพิธภัณฑ์ที่มีมากถึงพันกว่าแห่งจากทั่วประเทศ กลุ่มวัยรุ่นจึงเป็นกลุ่มที่มีพื้นที่ที่น้อยที่สุดในพิพิธภัณฑ์โดยเฉพาะในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ทั้งรูปแบบการจัดแสดง กิจกรรม และงานบริการนั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์กับกลุ่มวัยรุ่นเท่าที่ควร พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหลายๆแห่งยังไม่สามารถตอบสนองด้านความต้องการ การเรียนรู้ และความเป็นสมัยใหม่ของผู้ชมกลุ่มวัยรุ่นเอง ทั้งๆที่วัยรุ่นเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเข้าพิพิธภัณฑ์มากที่สุดกลุ่มหนึ่งพอๆกันกลับกลุ่มเด็กที่ได้มีโอกาสมาเที่ยวพิพิธถัณฑ์กับทางโรงเรียน

อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นยังมีอุปสรรคที่สำคัญคือพื้นฐานความรู้ที่มีต่อกลุ่มวัยรุ่นหรือแม้แต่กลุ่มเด็กหรือกลุ่มผู้ใหญ่ แทบจะไม่สามารถหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ชมได้เลย อีกทั้งยังมีความล้าสมัยอาจจะไม่เหมาะกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่คนทำพิพิธภัณฑ์ควรจะรู้เกี่ยวกับกลุ่มคนกลุ่มเป้าหมายนั้นไม่อาจใช้จินตนาการได้อย่างเดียว แต่พื้นฐานความรู้นั้นควรจะผ่านกระบวนการที่สามารถทำให้ทราบถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายจริงๆ จึงจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายได้ ความสำคัญของผู้ชมไม่ใช่แค่เข้ามาแล้วออกไปหากแต่เป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยพัฒนาพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์กับคนดูไม่สามารถแยกออกจากกันได้เพราะหากไม่เป็นเช่นแล้วประโยชน์ของการสร้างพิพิธภัณฑ์จะเป็นเพียงการตอบสนองความต้องการของผู้สร้างเท่านั้นไม่ใช่ความต้องการของสังคมอย่างที่พิพิธภัณฑ์ควรจะเป็น

จากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการศึกษา “การดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ในทัศนะของวัยรุ่นหรือกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย” เพื่อทำความเข้าใจในความคิดทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มวัยรุ่นอันนำไปสู่แนวทางการวางแผนงานของพิพิธภัณฑ์ ให้มีความเหมาะสมและตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากที่สุด โดยเป็นการคิดในพื้นฐานที่ว่าพิพิธภัณฑ์จะอยู่รอดได้เมื่อมีผู้ชมและจะตอบสนองความต้องการของผู้ชมได้เมื่อเข้าใจผู้ชม ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนของพิพิธภัณฑ์ที่มีกลุ่มวัยรุ่นเข้าชมมากที่สุดแห่งหนึ่งคือ “มิวเซียมสยาม” เป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่ยุคการสร้างสุวรรณภูมิจนมาถึงเรื่องราวของคนไทยในปัจจุบัน มิวเซียมสยามเป็นพิพิธภัณฑ์อีกแห่งหนึ่งที่ได้พยายามตอบโจทย์พฤติกรรมและทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อพิพิธภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสื่อนิทรรศการที่เต็มไปด้วยสีสันและสื่อที่โต้ตอบกับผู้ชม อีกทั้งเนื้อหาทางประวัติศาสตร์นั้นแม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในแวดวงนักประวัติศาสตร์ แต่เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทยและคนรุ่นใหม่ ซึ่งเรื่องราวที่ใช้จัดแสดงบวกกับสื่อที่ใช้จัดแสดงที่มีความสมัยใหม่นั้นได้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ซึ่งก็คือกลุ่มวัยรุ่นหรือกลุ่มเยาวชนอันเป็นเป้าหมายหลักของพิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม

มิวเซียมสยามเป็นพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้องค์การสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(OKMD) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นองค์กรนำทางด้านความรู้ ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่สอดคล้องกับสมัยใหม่และอนาคต ฯลฯ และพิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยามนั้นได้เปิดตัวขึ้นมาภายใต้แนวคิด Discovery Museum เป็นการสร้างพื้นที่ใหม่แห่งการเรียนรู้ภายใต้พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ โดยสร้างสรรค์นิทรรศการถาวรที่กระตุกต่อมความคิดและจุดประกายความอยากรู้ เกิดการตั้งคำถาม และเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างนิทรรศการกับผู้ชม เพื่อให้เกิดการสื่อสารความรู้และทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้ชม ด้วยเทคนิคการจัดแสดงที่หลากหลาย (สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, 2548:2) ซึ่งในปัจจุบันมิวเซียมสยามนั้นเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีวัยรุ่นเข้าชมมากที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีเทคนิคการจัดแสดงที่หลากหลายและมีความสวยงาม ลักษณะดังกล่าวตอบโจทย์ความต้องการของวัยรุ่นในแง่ของความรื่นรมณ์ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงหรือเป้าหมายทั้งหมดของทางพิพิธภัณฑ์ (คเณศ อธิรัตนกรัณฑ์, 2552) การเข้าชมมิวเซียมยามของกลุ่มวัยรุ่นจึงดูเหมือนเป็นแฟชั่นมากกว่าหรือการตอบสนองด้านอารมณ์มากกว่าจะเป็น Discovery Museum ที่สามารถกระตุกต่อมคิดจุดประกายความอยากรู้จนนำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้ต่างๆ การศึกษาพฤติกรรม ทัศนะคติและความคาดหวังของกลุ่มวัยรุ่นที่มีต่อพิพิธภัณฑ์ครั้งนี้หวังว่าจะทำให้ทราบถึงความต้องการของวัยรุ่นที่แท้จริงและสามารถนำมาผสมผสานกับความต้องการของพิพิธภัณฑ์ ให้เป็นแนวทางเดียวกันจนนำมาสู่แนวทางการดำเนินงานที่ตอบสนองความต้องการของวัยรุ่น

]]>
http://makky.in.th/375/feed/ 6
พฤติกรรมการเข้าชม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม ตอนที่ 1 http://makky.in.th/371/ http://makky.in.th/371/#comments Tue, 24 May 2011 05:50:24 +0000 http://makky.in.th/371 ผมมีวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ที่ทำไว้นานละ เดี๋ยวเอามาทยอยลงให้อ่านสำหรับท่านที่สนใจเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ ในประเด็นการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ของกลุ่มวัยรุ่น …อาจจะแบ่งเป็นหลายตอนหน่อย เพราะเรื่องมันยาวมาก

Museumsiam

ชื่อเรื่อง พฤติกรรมการเข้าชม ทัศนคติ และความคาดหวังของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีต่อพิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม

บทที่ 1

1.1 ความสำคัญและที่มาของปัญหา

ปัจจุบันได้มีพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยมากถึง 1112 (ศูนย์มนุษยวิยา, 2552:ออนไลน์)แห่งจากทั่วประเทศมีทั้งที่เป็นของวัด ชุมชน สถานศึกษา หน่วยงานราชการ องกรณ์ปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ ถึงแม้จะมีพิพิธภัณฑ์ที่หลากหลายและมากมายแต่คนไทยก็ยังไม่นิยมเข้าพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทำให้พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ในบรรยากาศที่เงียบเหงาขาดการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่แท้จริงของสังคม ผลที่ตามมาก็คือการปิดตัวของพิพิธภัณฑ์เพราะหลายแห่งมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญๆ การเปิดบริการก็ต้องมีงบประมาณมาบำรุงทั้งการอนุรักษ์วัตถุค่าใช้จ่ายต่างๆของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งปัจจัยก็มีหลายอย่างเช่น ความน่าสนใจของนิทรรศการ ซึ่งถ้าหากนึกถึงพิพิธภัณฑ์เมื่อไหร่หลายคนจะนึกถึงโบราณวัตถุ สิ่งของเก่าแก่ที่หาดูยาก (พัชรดา จุลเพรช, 2552:ออนไลน์) ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์หลายแห่งได้มีการพัฒนาในเรื่องของสื่อนิทรรศการเทคโนโลยีนำเสนอต่างๆ แต่ภาพที่ยังติดตาทำให้พิพิธภัณฑ์ถูกมองในแง่ลบมากกว่าการเป็นแหล่งเรียนรู้ อย่างไรก็ตามได้มีข้อเสนอต่างๆเกี่ยวกับการออกแบบพิพิธภัณฑ์จากงานวิจัยหลายๆชิ้นและกลุ่มคนทำพิพิธภัณฑ์เองว่าพิพิธภัณฑ์ควรปรับปรุงสื่อให้มีความหลากหลาย (โชติรส พิพัฒน์ผล, ช้างเอราวรรณ) เน้นให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์กับนิทรรศการและส่งผลต่อการรับรู้ของผู้ชม และเห็นได้จากพิพิธภัณฑ์ในระยะหลังๆมานี้ได้ลงทุนนำเทคโนโลยีมาประยุกต์เพื่อดึงดูความสนใจ แม้แต่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครเองก็ยังมีสื่ออินเทอร์แรคทิฟ พิพิธภัณฑ์ที่มีการลงทุนสูงไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ มิวเซียมสยาม ฯลฯ เหล่านี้มีความสะดวกที่จะสร้างสื่อแปลกใหม่และหลากหลายเพราะมีความพร้อมด้านงบประมาณและบุคลากรจึงไม่ใช่เรื่องยากนักที่จะสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ได้ หากแต่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เป็นของเอกชน ชุมชน วัด หรือแม้แต่พิพิธภัณฑ์ที่เป็นของหน่วยงานราชการมีความลำบากในการสร้างสรรค์สื่อจัดแสดงทั้งในเรื่องของงบประมาณที่ไม่เพียงพอและความพร้อมของบุคลากร เพราะรูปแบบการบริหารจัดการของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังอยู่ในลักษณะเป็นองกรณ์ที่ไม่มั่นคง ไม่มีความชัดเจนในเรื่องของทิศทางที่จะไป ส่งผลให้พิพิธภัณฑ์นิ่งขาดการพัฒนา (ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง, 2551:ออนไลน์)

ผลพวงของการที่พิพิภัณฑ์ท้องถิ่นขาดคนดูส่งผลให้พิพิธภัณฑ์ต่างๆมีการตื่นตัวเกิดการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น และได้เกิดแนวคิดต่างๆเพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นมีผู้ชมมากขึ้น การพัฒนาก็มีข้อจำกัดลักษณะของแนวทางต่างๆที่ถูกเสนอมาเพื่อพัฒนาให้พิพิธภัณฑ์มีผู้ชมจึงเป็นการแก้ไขจุดอ่อนของพิพิภัณฑ์เอง เช่น ด้านการออกแบบสื่อนิทรรศการให้ที่มีชีวิตนับเป็นอีกแนวคิดหนึ่งของการออกแบบนิทรรศการ โดยการใส่เรื่องเล่าหรือเรื่องราวให้กับวัตถุที่จัดแสดง กลายเป็นแนวคิด “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” (living museum) เพิ่มความมีชีวิตให้กับพิพิธภัณฑ์เพิ่มความน่าสนใจให้กับนิทรรศการ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่มีความเหมาะสมกับพิพิธภัณฑ์ที่มีทุนน้อย อีกทั้งแนวคิดการออกแบบนี้ไม่มีความซับซ้อนมากนัก เหมาะกับศักยภาพของบุคคลากรที่มิได้เรียนการออกแบบมา แต่ความมีชีวิตของพิพิธภัณฑ์ก็มีหลากหลายรูปแบบสุดแต่จะตีความบางคนกล่าวว่า “หากพิพิธภัณฑ์ได้รับการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนแท้จริง คนที่ไปดูไม่ใช่แค่ระดับเดียวแต่จะต้องมีตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ ไม่ใช่ไปกันเพียงครั้งเดียว ไปกันหลายๆครั้ง อย่างนี้เรียกว่า พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” (เอกสารประชุมวิชาการ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย, 2539:24) พิพิธภัณฑ์ที่ใช้แนวคิดดังกล่าวนี้เช่น พิพิธภัณฑ์วัดท่าพูดซึ่งกระบวนการสร้างพิพิธภัณฑ์นั้นเกิดจากความต้องการของุมชนโดยแท้ การจัดแสดงทำโดยการใส่เรื่องราวและภาพตัวแทนไปยังสื่อจัดแสดงให้มีชีวิตชีวา แต่ถึงกระนั้นพิพิธภัณฑ์ก็ยังไม่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องมักได้รับความนิยมเพียงช่วงแรกๆที่จัดตั้งพิพิธภัณฑ์เท่านั้น

อีกทางเลือกในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ที่ถูกกล่าวถึงมานาน แต่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างได้เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการรวมตัวของคนในวงการพิพิธภัณฑ์เพื่อระดมความคิดภายใต้งาน “รัฐและองกรณ์เอกชนจะสนับสนุนพิพิธภัณฑ์ได้อย่างไร” เป็นการรวมตัวครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของชาวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อระดมความคิดแล้วกำหนดเป็นนโยบายแล้วเสนอไปยังรัฐบาล ภายในงานได้พบปัญหา ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะมากมายของผู้ร่วมเสวนา ปัญหาโดยรวมๆระหว่างรัฐกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นคือติดขัดในเรื่องของระเบียบทางราชการเพราะพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหลายๆแห่งมีสถานะที่เป็นของเอกชน และในหลายๆแห่งอยู่ในรูปแบบกึ่งธุรกิจหรืออยู่ในรูปแบบบริษัทเช่นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่สุดของการจัดทำพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่เรื่องเงินจึงได้มีการเสนอให้พิพิธภัณฑ์เกิด “การมีส่วนร่วม” หรือแม้พิพิธภัณฑ์ที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ควรเกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนหรือคนในท้องที่ การทำพิพิธภัณฑ์จึงเป็นลักษณะของกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2551:7) ซึ่งจะทำให้พิพิธภัณฑ์นั้นสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพราะคนในชุมชนได้มองเห็นความสำคัญจนกลายเป็นอีกแรงหนึ่งที่ช่วยประชาสัมพันธ์และทำให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิตชีวา ต้นแบบหรือผู้ผลักดันให้เกิดแนวคิดนี้คืออาจารย์ศรีศักร วัลลิโวดม ได้นำเอาแนวคิดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผสมผสานกับการทำพิพิธภัณฑ์ ทำให้การทำพิพิธภัณฑ์เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิชาการกับชาวบ้าน

เมื่อพิจารณาถึง พัฒนาการของการทำพิพิธภัณฑ์ที่ได้เกิดมีแนวคิดต่างๆเข้ามาไม่ว่าจะเป็นการสร้างการมีส่วนร่วม การทำให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต การทำสื่อให้มีความหลากหลาย ทั้งหมดทั้งมวลล้วนแต่อยู่บนพื้นฐานเพื่อให้มีผู้ชมเข้ามา หากกล่าวถึงพิพิธภัณฑ์ความน่าสนใจมักจะอยู่ที่เรื่องของการจัดแสดง หรือกระบวนการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นมาอยู่บนความต้องการส่วนบุคคล/ชุมชน แนวคิดการอนุรักษ์ หรือเป็นนโยบายรัฐ ส่วน “ผู้ชม” หรือภาษาทางการตลาดที่เรียก “ลูกค้า” นั้นไม่ได้อยู่ในกระบวนการของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ชมได้เพราะขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้ชม หากแต่พิพิธภัณฑ์ในหลายๆแห่งได้เน้นไปที่คุณค่าของตัวพิพิธภัณฑ์มากกว่าผู้ชมจึงทำให้ทำให้กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ชมนั้นไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะตัวพิพิธภัณฑ์เองได้กลายเป็นพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น พิพิธภัณฑ์เมืองส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นทางการทั้งรูปแบบการจัดแสดงและกระบวนการสื่อความหมาย เหมาะแก่ผู้เขข้าชมที่เป็นกลุ่มผู้ใหญ่มากกว่า ขณะที่เด็กหรือเยาวชนแทบจะไม่มีพื้นที่ในส่วนนี้เลย

]]>
http://makky.in.th/371/feed/ 16