เทคนิคการเขียนบล็อก ประเภท “รีวิวแอพพลิเคชั่น”

ผมเขียนบล็อกที่เกี่ยวกับการรีวิว โดยเฉพาะการรีวิวแอพ เป็นบล็อกแรก และเป็นงานที่ถนัดที่สุดของผมหากเทียบกับการเขียนบล็อกอื่นๆ บล็อกแรกผมคือ 5800xmz.blogspot.com เป็นบล็อกรีว Symbian application สำหรับมือถือ Nokia

ที่ผมเริ่มทำบล็อกรีวิวแอพในตอนนั้น เริ่มมาจากการเป็นสมาชิกในบอร์ด Nokia gang แล้วเริ่มเห็นข้อเสียของเว็บบอร์ด ว่า ความรู้ในบอร์ดมันไม่เป็นระเบียบ ค้นหายาก ไม่มีการจัดหมวดหมู่ที่ดีนัก หากเทียบกับบล็อก ทุกอย่างมันดูตรงกันข้าม

สไตล์การเขียนของผม ถ้าเป็นรีวิวแอพ จะเน้นการนำเสนอภาพประกอบ พร้อมกับบรรยายประสบการณ์ และวิธีการใช้เพียงคร่าวๆ ไม่ได้ลงลึกมาก เพราะมีเวลาใช้อย่างจำกัด และต้องรีวิวแอพทุกวัน

ผมชอบเขียนอะไรโดยเน้นให้เห็นว่ามีหลักฐาน เทคนิคนี้ได้มาจากการเรียนประวัติศาสตร์ คนจะเชื่อสิ่งที่เราบอกก็ต่อเมื่อเรามีหลักฐานให้เห็นชัดเจน ทำให้เขาดูว่าเราทำได้จริงๆ  และคนอ่านจะเชื่อมั่นเรามากขึ้น ถ้ามีความต่อเนื่องในการเขียน  …ที่สำคัญไม่เขียนเกินจริง

บล็อกที่สองคือ Droidza.com เป็นบล็อกรีวิว Android App ถ้าได้อ่านบทความแรกๆที่ผมเขียนแล้วมาเทียบกับเรื่องล่าสุด จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลง ตอนแรกผมเน้นว่าต้องเยอาะและยาว หลังๆมาผมเน้นให้เนื้อหามีความกระชับ เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย

สาเหตุที่ผมเน้นกระชับ เพราะสังเกตพฤติกรรมการอ่านของตัวเอง ผมเองไม่ได้ชอบอ่านอะไรยาวๆ ชอบเนื้อมากกว่าน้ำ แนวทางการเขียนจึงเปลี่ยนไปให้เข้าใจได้ง่ายและเร็ว

อีกบล็อกหนึ่งที่ผมรีวิวแอพคือ Thaipad.Maahalai.com เป็นบล็อกรีวิว iPad App แนวการเขียนรีวิว คล้ายๆกับเว็บ Droidza.com แต่ผมใส่รายละเอียดไว้มากกว่า คือเพิ่มข้อมูลเครื่องที่ใช้ได้ และคุณสมบัติของแอพที่นักพัฒนาเขาอธิบายไว้

แนวคิด
วิธีการเขียนรีวิวแอพ ไม่มีการสอนในชั้นเรียนนะ แต่มันเป็นศิลปะการเขียนของบล็อกเกอร์แต่ละคน ที่จะคิดขึ้นมา บางคนเขียนยาวบางคนเขียนสั้น แต่ละคนจะมีการใส่และบรรยายรายละเอียดแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทักษะของเขา  เห็นบล็อกเขาเขียนได้ดี ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเขียนอย่างเขา แต่ให้เขียนตามความถนัด เขียนในแบบที่เป็นตัวเราจะดีกว่

ถ้าเราเขียนแบบมีเป้าหมาย เราจะเขียนรีวิวได้ง่าย ได้ตรงจุดมากขึ้น บางคนเขียนเพื่อความบันเทิง หรือเขียนให้ความรู้ ลีลาการเขียนอาจจะต่างกัน ขึ้นอยู่กับอารมณ์ และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา การเขียนบล็อกโดยไม่คำนึง SEO เนื้อหาจะมีความเป็นธรรมชาติ มีความจริงใจ น่าอ่านมากกว่า

สุดท้าย อยู่ที่ตัวคนเขียนเอง การเขียนไม่จำเป็นต้องไปยึดติดหลักการอะไรมากนัก แต่ขึ้นอยู่กับความถนัดในการเขียน แต่จะเขียนดีหรือเขียนแย่ ให้ดู Feedback จากคนอ่าน เช่น สถิติการชม ถ้าเขียนรู้เรื่องหรือเขียนถูกใจ อัตราการเข้าชมหน้าเว็บโดยตรงจะมีมากขึ้น มากกว่าการเข้าชมจากการค้นหา หรืออ้างอิงจากแหล่งอื่นๆ

Facebook Comments