ถ่ายภาพมือถืออย่างไร ให้ถูกใจ ตอนที่ 1 ก่อนจะถ่ายภาพ

สมัยที่เรียน ป.ตรี ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่นักศึกษาต้องเดินทางบ่อยมากๆ ออกเดินทางทุกเทอม ออกไปทัศนศึกษาตามโบราณสถานและพิพิธภัณฑ์  กล้องที่ถ่ายเป็นกล้องดิจิตอลธรรมดาๆ ตลอดระยะเวลาที่เรียน ผมถ่ายไปหลายพันรูป

ภาพถ่ายตอนฝึกงานที่พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี

ถ่ายไปหลายพันรูป…แต่รูปที่ถ่ายไปไม่ได้มีพัฒนาการอะไรมากนัก จนถึงช่วงฝึกงานได้ DSLR-Like มาลอง และหนังสือแนะนำการถ่ายภาพหนึ่งเล่ม มุมมองการถ่ายภาพผมเปลี่ยนไปจากคำแนะนำในเล่ม

China Town ประเทศสิงคโปร์

จนถึงเมื่อประมาณสองปีก่อน ได้เปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟนถ่ายรูป เหตุเพราะแขนข้างขวาใช้งานไม่ได้ชั่วคราวจากอุบัติเหตุ แนวคิดการถ่ายภาพผมเปลี่ยนไปอีกครั้ง เพราะมือถือเป็นอุปกรณ์ถ่ายภาพที่พกติดตัวไปได้ตลอดเวลา ถ่ายภาพได้หลายแบบโดยที่ไม่ต้องตกแต่งเพิ่มเติม เพราะมีแอพหลายตัวทำหน้าที่เป็นเลนส์ ฟิลเตอร์ ตกแต่งภาพได้ในตัว

คีย์บอร์ดกระทบแสงอาทิตย์

ผมไม่ได้จะบอกว่ากล้องมือถือดีกว่ากล้องถ่ายรูปมืออาชีพ หรือกล้องแบบอื่นๆ มันมีดีกว่าแต่ไม่ใช่ทุกอย่าง เพราะการใช้งานต่างกัน กล้องมือถือใช้ง่ายตรงที่ถ่ายได้หลายสถานการณ์ เพราะอยู่กับตัวเราตลอด สเน่ห์มันอยู่ตรงนี้

การเลือกมือถือเพื่อถ่ายภาพ
อยากจะบอกว่า pixel เยอาะ ไม่ใช่ว่าจะถ่ายรูปได้ชัดหรือดีกว่ามือถือตัวอื่นๆ สำคัญคือเลนส์ ฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมที่ใช้ ส่วนใหญ่มือถือจะไม่บอกคุณสมบัติละเอียดขนาดนี้ …แต่เวลาผมเลือกผมจะดูดังนี้
1. ควรเป็นกล้องที่มี Auto Focus เพราะถ่ายไกล้และชัดกว่ากล้องที่ไม่มี โดยเฉพาะถ้าชอบถ่ายภาพอาหาร
2. ความละเอียดอย่างต่ำ 3.2 – 5.0 pixel ขนาดที่พอดีแก่การอัพโหลดขึ้นเฟส ทวิทเตอร์ หรือกูเกิ้ลพลัส
3. ถ้าใช้ความละเอียดสูงกว่า ภาพจะมีขนาดใหญ่ นำไปใช้งานได้หลายงาน แต่จะส่งอีเมล์และอัพโหลดลำบาก เพราะภาพมันใหญ่ ตอนนี้ผมใช้ 5.0 pixel. เพราะเป้าหมายถ่ายแล้วอัพโหลดขึ้นเฟส และใช้ประกอบเว็บ
4. มือถือที่ใช้ แนะนำว่าถ้าไม่ Android ก็ iPhone. เป็นมือถือที่ลงแอพเสริมได้ ถ่ายรูปได้หลายแนวมากๆ ถ้า iPhone เอาแบบ 3GS หรือรุ่น 4 ไปเลย.
5. ก่อนจะซื้อจริงๆดูริวิวก่อน ข้อเสียเล็กๆในรีวิวมือถือ มักเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานที่สำคัญในอนาคต.
6. ดูตัวอย่างภาพถ่ายมือถือให้ดีๆ ดูกว่าถ่ายไกล้ไกล ภาพชัดแค่ไหน
7. เวลาเลือกอ่านรีวิวมือถือ ให้ดูว่าเว็บนั้นเขาชอบพูดจริง หรือเน้นยกย่องสินค้า ให้อ่านเว็บที่เขาชอบพูดจริง พูดถึงข้อเสียการใช้งาน เกือบทุกรุ่นมันย่อมมีเรื่องพวกนี้อยู่ ถ้าไม่ปรากฏในรีวิวก็จะมีการตั้
กระทู้หรือคอมเม้น
8. ถึงเวลาซื้อคุณต้องลองใช้งานกล้องก่อนนะ ลองถ่ายไกล้ และถ่ายไกล มีปัญหาตุกติกให้ลองเครื่องใหม่ อย่าเพิ่งรับไปโดยที่ไม่ลองใช้

ถึงคราวใช้งาน
ถ้าเป็นมือถือ Android – iPhone ให้ลงแอพเสริม จะช่วยเพิ่มความสามารถในการถ่ายภาพ

กระทรวงกลาโหม

แนวคิดการถ่ายภาพ
ถ่ายภาพมันไม่ยากนะ เปิดแอพขึ้นมากดปุ่มถ่ายภาพ ก็ได้มาแล้วหนึ่งภาพ …จะถูกใจหรือไม่คืออีกประเด็นหนึ่งกว่าผมจะได้ภาพที่ถูกใจ ใช่ว่าถ่ายครั้งเดียวแล้วได้เลยนะ ภาพหนึ่งภาพบางทีต้องถ่ายหลายๆครั้งถึงจะได้ภาพที่ถูกใจ

ในมือถือจะมีแอพให้เลือกหลายตัว และแอพหนึ่งแอพก็มีรูปแบบการถ่ายภาพหลายแบบ เลือกให้เหมาะกับสถานการณ์ เช่นถ่ายแบบโลโม่ มันก็ไม่ได้เหมาะจะถ่ายกับทุกอย่าง เช่น ภาพอาหาร ภาพถ่ายตอนกลางคืน พระอาทิตย์ตกดิน ท้องฟ้ากลางวัน …ลักษณะเหล่านี้จะใช้โหมดที่ต่างกันไป

สำคัญคือต้องเรียนรู้เอง ด้วยการถ่ายบ่อยๆและถ่ายรูปหลายๆโหมด แต่แอพส่วนหนึ่ง มันจะให้ถ่ายก่อนแล้วมาเลือกโหมดทีหลัง แอพแต่ละตัวจะใช่งานไม่เหมือนกั

แดดยามเย็น ม.มหิดล

นอกจากแอพที่จะช่วยให้ถ่ายภาพได้มีสีสันแล้ว …ที่เลียนแบบได้ยากคือมุมมองการถ่าย ในภาพนั้นจะสื่ออะไรก็ขึ้นอยู่กับสายตา และการเรียนรู้ ผมเรียนรู้ด้วยการทดลองถ่ายแบบโลโม่ แต่ไม่ได้ใช้กล้องโลโม่ ทำให้ได้มุมมองที่หลากหลายมากขึ้น …ถ้าไม่รู้จักโลโม่ (Lomo) กูเกิ้ลช่วยได้นะ …เอาไว้มีโอกาสจะมาอธิบายว่าคืออะไร

ส่งท้ายภาพที่ได้จะถูกใจหรือไม่ ลองถ่ายเยอาะๆครับ ถ่ายแล้วเอามาเปรียบเทียบดู จะทำให้เห็นความต่างในชแต่ละภาพ  โอกาสหน้า จะมาต่อกันตอนที่ 2 เริ่มถ่ายภาพ

Facebook Comments