เมื่อชาวเน็ตพยายามสร้าง “กฏการขึ้นรถไฟฟ้า”

ผมขึ้นรถไฟฟ้าครั้งสุดท้ายก็เดือนที่แล้วนู่น นานๆจะได้ขึ้นที ปกติจะขึ้นสาย BTS รถไฟลอยฟ้ามากกว่า ส่วน MRT สายนี้ใช้บริการไม่กี่ครั้ง ส่วนตัวก็ไม่ค่อยชอบลงไต้ดินเท่าไหร่ อีกทั้งไม่ค่อยมีเหตุที่ต้องเดินทางไปเส้นทางนั้น  ส่วนเส้นทางที่ใช้บ่อยคือเส้น หมอชิต-สยาม

รถไฟฟ้าทั้งสองสายเหมือนกันอยู่อย่างคือ คนที่เข้าใช้บริการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชั้นกลาง พนักงานออฟฟิค นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา  และการใช้รถไฟฟ้าเป็นการเดินทางที่น่าเร็วที่สุดในกรุงเทพฯ  ช้าที่สุดคือรถเมล์  แต่รถไฟฟ้าไม่ได้ครอบคุมทุกเส้นทางของ กทม. คนที่ใช้บริการส่วนใหญ่ก็เดินทางแบบผสม เช่น ขึ้นรถเมล์ต่อ BTS แล้วต่อมอไซค์รับจ้างอีกครั้ง  ส่วนราคา BTS อยู่ที่ 15-40

บรรยากาศในรถไฟฟ้าเย็นสบาย ถ้าขึ้นช่วงคนน้อย แต่ถ้ามาขึ้นในช่วงเวลาหลังเลิกงานหรือเลิกเรียน คนจะแน่นชนิดที่ต้องเกาะขอบประตู (แม้จะมีป้ายเตือนว่าห้ามพิง) ความเย็นจะลดลงบ้าง  แต่ยังหายใจได้คล่อง

ส่วนเท่าๆที่ได้สังเกต ผมแบ่งกลุ่มคนที่ขึ้นรถไฟฟ้าออกเป็นดังนี้

  1. กลุ่มคนที่นั่งอยู่เฉยๆ
  2. กลุ่มคนที่โหน
  3. กลุ่มคนเกาะเสา
  4. กลุ่มคนเล่นสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ท
  5. กลุ่มคนที่พิงผนังบริเวณรอยต่อรถไฟ
  6. กลุ่มคนที่ยืนอยู่บนรถไฟแบบไม่มีอะไรให้เกาะ
กลุ่มที่ถูกนินทาผ่านสื่อบ่อยที่สุดคือ คนที่เกาะเสากับคนที่ใช้สมาร์ทโฟน  เช่นการยืนพิงเสา เอาก้นหนีบเสา ยืนแชทบีบี เป็นพฤติกรรมที่ทำให้พื้นที่รอบข้างนั้นแคบลง จนคนเอามาดราม่ากันบ่อยๆในทวิทเตอร์และ pantip
ถ้าถามว่าผมเป็นคนกลุ่มไหน…ตอบเป็นทุกกลุ่มเลยครับ เดี๋ยวนั่ง เดี๋ยวยืน เดี๋ยวได้พิง เล่นสมาร์ทโฟน บางครั้งก็ยืน แบบไม่มีอะไรให้เกาะ ไม่มีเลยจริงๆคนแน่นไปหมด  และตั้งแต่เคยขึ้นรถไฟฟ้าครั้งแรกเมื่อ 5 ปีที่แล้ว จนถึงวันนี้ ส่วนตัวไม่เคยมีปัญหาใดๆ ทั้งกับรถไฟฟ้าและคนรอบกาย  หรืออาจเป็นเพราะผมไม่ได้ชอบคิดเรื่องบาเรื่อง เหมือนกับหลายๆคนที่โดยสาร BTS แล้วมักจะมีประเด็นให้มาดราม่าเสมอๆ
สำหรับกติกาการขึ้นรถไฟฟ้าก็มีอยู่นะ แต่ผมจำได้ข้อเดียวคือ ห้ามรับประทานอาหาร แต่เนื่องจากรถไฟฟ้ามันเป็นบริการสาธารณะ มันจึงมีคนที่พยายามจะตั้งกฏทางสังคม  เป็นกฏที่ไม่เกี่ยวกับผู้ให้บริการ เช่น
  • ห้ามพิงเสา
  • ห้ามเล่นสมาร์ทโฟน
  • ห้ามเดินเข้าออกช้า
  • ห้ามใส่น้ำหอมกลิ่นแรง
ยังมีข้อห้ามอื่นๆที่เกิดขึ้นมาจากการสังเกตของผู้โดยสารบางท่าน ในยามที่รถไฟแน่นแล้วไม่ได้รับความสะดวก  แล้วเอามาสร้างประเด็นต่อบนสังคมออนไลน์ ตามเว็บบอร์ด ตาม pantip บ้าง ข้อห้ามเหล่านี้เป็นแค่การขอร้องว่าอย่าทำ  แต่มันไม่ใช่ข้อห้ามจริงๆ อาจจะห้ามไม่ได้ด้วยซ้ำ
ในความเห็นของผม
ที่ผมไม่ค่อยมีปัญหา “เพราะผมพูด” เช่น ขอเกาะเสาด้วยครับ ขอทางหน่อยครับ  ขอเบียดนิดนึงนะครับ  คือเราอาจจะเคยเห็นคนเล่นบีบี ใช้พื้นที่กว้างกินรถไฟในยามที่คนแน่น ก็ใช่ว่าจะขอเข้าไปเบียด เข้าไปไกล้ไม่ได้นะ เพราะทางเลือกมันน้อย  การสื่อสารกันเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีกว่า
ไม่ใช่แค่เรื่องบนรถไฟ แต่รวมถึงเรื่องอื่นๆ การเก็บมาบ่นบนสังคมออนลไน์ อาจช่วยระบายความในใจได้ แต่ทุกคนบนสังคม ไม่ได้เล่นเฟสบุ๊ค ทวิทเตอร์  การพูดการสื่อสารกันทางตรงอาจจะเป็นทางออกที่เหมาะสมกว่า
Facebook Comments