แนวคิดเขียนบล็อก : การสร้างความเชื่อ

บล็อกใหม่หลายๆบล็อก ไม่ทันเกิดก็มาดับ เพราะตกม้าตายที่ “เนื้อหาบล็อก” เอง คือเนื้อหามันมั่วเกินไป ไม่มีความชัดเจน ทำให้คนที่เข้ามาอ่านเขาไม่รู้ว่าจะเข้ามาทำอะไรต่อ คือไม่ได้สร้างเป้าหมายการเข้ามาครั้งต่อไป  เหมือนตอนที่สร้าง Maahalai.com ช่วงแรกๆ แม้แต่คนเขียนเองก็ไม่รู้จะเขียนอะไร

เรื่องที่แนะนำ

  1. ถ้าทำเว็บวันนี้ จะได้เงินวันไหน
  2. แนวคิด : เขียนบล็อก+สร้างแบรนด์
  3. เทคนิคการเขียนบล็อก ประเภท “รีวิวแอพพลิเคชั่น”
  4. ความรู้ที่เห็นในเว็บไซท์ คุณไว้ใจได้แค่ไหน
  5. ความรู้ที่มีทั้งหมด ในการสร้างและจัดการเว็บ
  6. เครื่องมือและโปรแกรมทั้งหมดที่ผมใช้ทำเว็บ

ตัวอย่างบล็อกที่มีความชัดเจนให้คนอ่าน เช่น

Fail.in.th = ตลก

Blognone.com = ไอที

9tana.com = ไอที

faceblog.in.th = โซเชียลเน็ตเวิร์ค

นี่เป็นตัวอย่างของบล็อก “เฉพาะทาง” ที่ทำให้คนอ่านมีเป้าหมายการเข้ามาครั้งต่อไปอย่างชัดเจน บล็อกเหล่านี้มีสีสันเฉพาะทาง มีเอกลักษณ์ และความรู้ของคนเขียน ที่ใครจะมาทำเลียนแบบได้ยาก …ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิด “ความเชื่อ” ของคนที่เข้ามาอ่านว่าเขาเชื่อเรา เขาเชื่อในสิ่งที่เราทำ  เชื่อว่าบล็อกเราเป็น “ตัวจริงเรื่องนี้”

ผลของความเชื่อ คือเมื่อบล็อกเราเป็นตัวจริง สิ่งที่ตามมาคือการ Follow ตาม Twitter Google+ Facebook และการเข้ามาติดต่อสอบถามเกี่ยวกับสาระในบล็อก เข้ามาสอบถาม พูดคุย  ประหนึ่งว่าเป็นกูรูในด้านนั้น และในบทสนทนานั้นเอง จะช่วยปรับปรุงการเขียนบล็อกครั้งต่อไปได้อีกด้วย

ความเชื่อคือการระลึกถึง เมื่อคนเชื่อ เขาก็จะนึกถึงบล็อกเรา เมื่อเขานึกถึงเรื่องที่เกี่ยวข้อง  ภาพบล็อกของเราก็จะผุดขึ้นมา  ดังนั้นนอกจากเนื้อหาแล้ว การออกแบบธีมเว็บจะเป็นส่วนสำคัญ ต่อการสร้างความเชื่อ ด้วย “สีประจำเว็บเว็บ” สีจะทำให้คนจำเราง่าย

นอกจากสีประจำเว็บ การออกแบบธีมให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาจะช่วยเพิ่มความหนักแน่น ให้กับบล็อก เช่น บล็อกทำอาหาร บล็อกไอโฟน บล็อกคนรักสนัข  แค่ชื่อบล็อกก็น่าจะพอเดาๆออกนะว่า องค์ประกอบธีมบล็อกมันควรมีอะไร

สรุปแนวคิดสร้างความเชื่อ

  1. สาระของบล็อกมีความชัดเจนว่าจะไปทิศทางใด
  2. บล็อกมีโทนสี ที่เป็นสีประจำบล็อก
  3. รูปแบบธีมสัมพันธ์กับสาระของบล็อก
อาจเป็นข้อยกเว้น
การเขียนบล็อกส่วนตัว เว็บบอร์ด เว็บวาร์ไรตี้ อาจจะใช้อีกแนวคิดหนึ่ง เพราะสาระของเว็บจะค่อนข้างกว้างมากกว่าบล็อกเฉพาะทาง ที่มีเป้าหมายการเดินทางที่ชัดเจน  แต่การที่บล็อกสาระมากมาย ไม่เน้นว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ  การสื่อสารกับคนอ่านจะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง
Facebook Comments