พฤติกรรมการเข้าชม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม ตอนที่ 4

บทที่ 2

วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

งานวิจัยเรื่อง การดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ในทัศนะของวัยรุ่น เป็นการศึกษาพฤติกรรม ทัศนคติ และความคาดหวังของผู้ชมที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น  เพื่อหาแนวทางการทำพิพิธภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับวัยรุ่น  ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้

 

2.1 ความเป็นมาและบทบาทของมิวเซียมสยาม

2.2 รูปแบบการจัดพิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม

2.3 แนวคิดการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์

×          แนวคิดการสื่อสาร

×          แนวคิดการจัดนิทรรศการ

×          แนวคิดการบริการข้อมูล

2.4 แนวคิดและรูปแบบการจัดพิพิธภัณฑ์ที่พึงประสงค์

2.5 ทฤษฏีการรับรู้และการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์

2.6 แนวคิดพิพิธภัณฑ์กับผู้ชม

2.7 แนวคิดด้านทัศนคติและความคาดหวัง

2.9 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.10.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความคาดหวัง

2.11.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเข้าชม

 

2.1 ความเป็นมาและบทบาทของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

 

2.1.1 ความเป็นมา

คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) เป็นหน่วยงานเฉพาะด้าน  สังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 เพื่อกำกับดูแลการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ขนาดใหญ่ของประเทศ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างรื่นรมณ์  และยกระดับมาตราฐานรูปแบบใหม่ให้ประชาชน  โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน  เกี่ยวกับการสร้างสำนึกในการรู้จักตนเอง รู้จักเพื่อนบ้าน  และรู้จักโลก รวมถึงแนวคิดการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของพิพิธภัณฑ์ในสังคมไทย  นอกจากนี้สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติมีบทบาทสนับสนุนและร่วมมือเป็นเครือข่ายกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ เพื่อยกระดับมาตราฐานกระบวนการเรียนรู้  และกระบวนการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ไทยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น[1]

 

 

 

ภาพ : คนกบแดง สัญลักษณ์สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

 

คนกบแดงและความหมาย

คนทุกคนมีกำเนิดมาตัวเปล่าทั้งนั้น ยุคแรกเริ่มยังไม่รู้จักทำเครื่องนุ่งห่ม จึงเป็นคนเปลือย เลยถูกเรียกจากคนอื่นที่มีอารยธรรมสูงกว่าว่า นาค (นาคก็คืองู ไม่มีขน ไม่มีเกล็ด มีแต่หนังหุ้มและลอกได้ ตามกำหนด ทั้งหมดเท่ากับเปลือยเปล่า และเป็นสัญลักษณ์ของน้ำที่อยู่ใต้ดิน คือบาดาล กับบนฟ้า คือสวรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในอุษาคเนย์ต้องการเพื่อใช้เพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารตาม ฤดูกาล) ฉะนั้น ตราสัญลักษณ์ จึงเป็นรูปคนที่ไม่ระบุเพศและเผ่าพันธุ์

รูปคนยืนกางแขน กางขา ทำท่าเป็นกบ เพราะกบ (รวมทั้งอึ่งอ่าง คางคก เขียด) เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ โดยเฉพาะน้ำฝน จึงมีรูปกบอยู่บนหน้ากลองทอง (สัมฤทธิ์) หรือมโหระทึกของอุษาคเนย์ เพราะเป็น เครื่องมือเครื่องใช้ประโคมตีในพิธีกรรมขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของชนทุก เผ่ายุคดึกดำบรรพ์ ไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว

นอกจากยกย่องกบเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์แล้ว คนในชุมชนยังร่วมกันเต้นฟ้อนทำท่าเป็นกบด้วย มีภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตาม เพิงผา และเถื่อนถ้ำตั้งแต่เขตมณฑลกวางสีถึงบริเวณประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์จึงแสดงเรื่องราวของ “คน” เพื่อให้รู้และเข้าใจรากเหง้าเหล่ากอความเป็นมาของบรรพชน ซึ่งล้วนเป็นคนพื้นเมืองของภูมิภาคอุษาอาคเนย์โบราณ คนพวกนี้ประสมประสารกันทางเผ่าพันธุ์ สังคม และ วัฒนธรรม แล้วก่อบ้านสร้างเมืองขึ้นเป็นแว่นแคว้นหรือรัฐ จนเป็นอาณาจักร แล้วดำรงเป็นประเทศสืบมาถึงทุกวันนี้

 

 

2.1.2 บทบาท

บทบาทของมิวเซียมสยามในปัจจุบัน มิวเซียมสยามเป็นพิพิธัณฑ์ที่ได้รับความนิยมจากเยาวชนและบุคคลทั่วไปหากเทียบกับพิพิธภัณฑ์ในแห่งอื่นๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นด้านการจัดแสดงแล้ว  ยังมีกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกเดือนอันแสดงถึงบทบาทของการเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ของเยาวชนและประชาชนทั่วไป

 

2.1.2.1 การจัดแสดงนิทรรศการ

นิทรรศการของมิวเซียมสยามจะมี 2  รูปแบบคือนิทรรศการถาวรและนิทรรศการหมุนเวียน โดยหลักๆแล้วการจัดนิทรรศการของมิวเซียมสยามจะเป็นการให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม  ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

 

นิทรรศการถาวร

นิทรรศการถาวรถูกจัดแสดงที่อาคารถูกจัดแสดงที่อาคารกระทรวงพานิชเดิม ภายใต้หัวข้อ “เรียงความประเทศไทย” เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของการกำเนิดสุวรรณภูมิ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและพัฒนาการของดินแดนสุวรรณภูมิจนนำมาสู่ความเป็นไทยในปัจจุบัน

 

 

นิทรรศการหมุนเวียน

นิทรรศการหมุนเวียนจะถูกจัดแสดงชั่วคราว  โดยนำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมาจัดแสดง ซึ่งเนื้อหาสาระนั้นสอดคล้องและเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเรียงความประเทศไทย เช่น นิทรรศการลูกปัด นิทรรศการจากสยามสู่ยุโรป

 

2.1.2.2 กิจกรรม

มิวเซียมสยามเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีกิจกรรมหลากหลายและจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  โดยหลักแล้วจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์วัฒนธรรม การสัมนา และการให้ความรู้ความบันเทิง

 

เสวนาและสัมนาทางวิชาการ

กิจกรรมเสวนาเป็นการเปิดเวทีพูดคุยไม่เน้นหนักวิชาการ เช่น โจรกรรมในพิพิธภัณฑ์  เนื้อร้องแบบไหนโดนใจผู้ฟัง ลูกทุ่งบนแผ่นฟิล์ม  จากหางเครื่องสู่แดนเซอร์  ส่วนที่เน้นหนักงานวิชาการจะเป็นการสัมนา เช่น  เรื่อง เครื่องรางของขลัง วัฒนธรรมชาวพุทธในสุวรรณภูมิ  ,ภาพหลอกหลอน ณ ชายแดนใต้ของไทย: การเขียนประวัติศาสตร์ปาตานีและโลกอิสลาม โดยพิพิธภัณฑ์เป็นเจ้าภาพและเชิญผู้เชี่ยวชาญบรรยายสัมนา

 

จัดอบรมให้ความรู้

มิวเซียมสยามได้จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานพิพิธภัณฑ์โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาบรรยาย เช่น อบรมเชิงปฏิบัติการการอนุรักษ์วัตถุในพิพิธภัณฑ์ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์มาเป็นอาจารย์สอนฝึกอบรม โดยกิจกรรมนี้ได้ออกไปจัดนอกสถานที่ตามภาคต่างๆด้วย

 

การแสดงดนตรี

การแสดงดนตรีเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นบ่อย โดยได้นำดนตรีแขนงต่างๆมาจัดแสดง เช่น จัดการแสดงสาธิตมโนราห์พื้นบ้าน โดย เอกชัย ศรีวิชัย, ดนตรีคลาสสิคจาก วง BSQ “Bangkok String Quartet” วงดนตรี Quartet, คอนเสิร์ต “โปรดฟังอีกครั้ง…..ตอนดนตรีใต้แสงจันทร์ โดยศุ บุญเลี้ยง”, การแสดงสาธิตลิเก โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่จัดเวลาตอนเย็น

 

กิจกรรมสำหรับเด็ก

กิจกรรมสำหรับเด็กที่พิพิธภัณฑ์จัดขึ้นมีหลายรูปแบบ เช่น พิพิธพาเพลินกับเจ้าขุนทอง ตอน มือน้อยสร้างฝัน เป็นกิจกรรมการทำหุ่น หัดเชิด หัดพากย์ และหัดเล่านิทาน เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยมที่จะชักจูงเด็กๆให้มีความสนใจในเรื่องที่กว้างขึ้น กระตุ้นความใฝ่เรียนรู้, กิจกรรมมิวเซียมสยาม ที่นี่ ไม่มีคำว่า “ห้าม”, พิพิธพาเพลิน ตอนปริศนาแห่งลูกปัด,  กิจกรรม รักษ์สายน้ำกับวันลอยกระทง, กิจกรรมชุมชนของเรากับมิวเซียมสยาม, พิพิธพาเพลิน ตอน “มหกรรมเพลงลูกทุ่ง” เป็นต้น

 

กิจกรรมอื่นๆ

กิจกรรมอื่นๆเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรมและท้องถิ่น  เช่น กิจกรรม “ประลองต่อจิ๊กซอว์ 3 มิติ”, การแสดงหุ่นนานาชาติ, กิจกรรมชุมชนของเรากับมิวเซียมสยาม, พิพิธพาเพลิน ตอน สงกรานต์สุวรรณภูมิ, พิพิธพาเพลิน ตอน ล่องเรือ เลาะคลอง ท่องชุมชน, Muse Trip

ตะลุยมหานครบางกอก เป็นต้น


[1] สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ : พื้นที่ใหม่แห่งการเรียนรู้, 2548, หน้า 2

 

Facebook Comments