วัฒนธรรมการก็อปในห้องสมุด

makky-329
ภาพจาก jongthanachote.exteen.com

 

สองปีก่อนผมเริ่มตั้งคำถามว่า การก็อปปี้ด้วยการถ่ายเอกสารจากหนังสือในห้องสมุด มันคือความถูกต้องหรือไม่

 

เป็นปกติที่ห้องสมุดต่างๆในมหาวิทยาลัยจะมีจะมีแผนกสำหรับถ่ายเอกสาร ช่วงที่ผมเรียนประวัติศาสตร์อยู่นั้นจำเป็นต้องใช้หนังสือเยอาะมาก  อยากอ่านเล่มไหนก็่ายเอกสารเอากลับไปอ่านที่ห้อง เพราะหนังสือมีน้อยมาก หนังสือเก่าๆหลายเล่มก็ไม่รู้จะหาซื้อที่ไหน เพราะอยู่มหาสารคามตอนนั้นร้านหนังสือยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่ก็เป็นหนังสือที่ขายให้สำหรับคนทั่วไป หนังสือที่เป็นวิชาการประวัติศาสตร์มีน้อยมาก ต้องอาศัยว่าสั่งซื้อจากทางสำนักพิมพ์หรือตามงานหนังสือก็พอจะมีหนังสือดีๆอยู่บ้าง

ด้วยความที่เป็นนักศึกษา ปกติก็ต้องใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือยไม่ได้อยู่แล้ว แต่นักศึกษาประวัติศาสตร์ต้องได้อ่านหนังสือเยอาะๆ เพราะการทำรายงานในแต่ละเล่ม นักศึกษาต้องการความรู้จากหนังสือหลายๆเล่มมาใช้อ้างอิงกับรายงาน เพื่อให้ดูมีความน่าเชื่อถือในสายตาอาจารย์  ทำเหมือนว่าเราได้อ่านมาเยอาะ

ผมเป็นนักศึกษาคนหนึ่ที่ต้องอ่านหนังสือเยอาะมากในช่วงเรียนประวัติศาสตร์  อ่านเยอาะแต่ไม่ได้เรียนเก่ง ไม่เคยทำเกรดถึง 3 หนังสือที่ผมอ่านไม่ได้มีแค่ประวัติศาสตร์ ผมไปห้องสมุด อยากอ่านเล่มไหนก็อ่าน แม้กระทั่งหนังสือวาดรูปยัหยิบมาดูแล้วก็วาดตาม  ส่วนหนังสือประวัติศาสตร์นั่งอ่านไม่นานก็เริ่มมึน บรรยากาศก็น่านอน จึงเลือกที่จะถ่ายเอกสารแล้วนำกลับไปอ่านที่ห้อง บาทีเจอเพื่อนก็นั่งเมาส์กัน หนังสือไม่ได้อ่าน

หนังสือที่ไปถ่ายมาก็เก็บสะสมไว้หลายเล่ม ส่วนใหญ่จะเลือกถ่ายของนักวิชาการคนดัง หรือหนังสือที่อาจารย์แนะนำ หลายคนจะมีหนังสือถ่ายเอกสารเป็นของตัวเอง ไม่ค่อยยืมของใครเท่าไหร่ เพราะเวลาเราอ่านเองก็จะมีการทำไฮไลท์ข้อความที่เด่นๆ และชอบขยันอ่านกันช่วงไกล้สอบ มีคนละเล่มจึงสะดวกที่สุด

 

การสะสมความรู้สมัยเรียนผมเป็นแบบนั้น ต้องคอยสะสมหนัสือจากห้องสมุดด้วยการถ่ายเอกสาร เพราะหนังสือมีน้อย นักศึกษาก็ไม่ค่อยมีเงิน แต่นักศึกษามีความต้องการสูง

 

หลังจากเรียนจบที่สารคามผมก็มาต่อโทที่มหิดล ผมซึมซับเรื่องการอ้างผลงานทางวิชาการ เป็นเรื่องสำคัญ  เรื่องการให้เครดิตถือเป็นเรื่องใหญ่  การขโมยความคิดของคนอื่นมากล่าวอ้างเป็นของตนเองจะไม่ถูกการยอมรับจากแวดวงวิชาการ  …แนวคิดแบบนี้ตอนเรียนประวัติศาสตร์ผมก็ได้เรียน แต่มันไม่จำ จนมีคนมาตอกย้ำก้เริ่มคิดได้ว่าทุกอย่างที่มนุษย์สร้างมามันมีที่มาที่ไป

แต่ผมไม่ได้แค่มองเรื่องของความคิด ผมมองไปยัง “วัตถุ” เช่น หนังสือ ถือเป็นแหล่งความรู้หลักของนักศึกษา นักวิชาการ …จะในยุคนั้นหรือตอนนี้อินเตอร์เน็ตมันไม่ได้มีทุกอย่าง  ความรู้หลายๆอย่างยังต้องมาหาจากหนังสือ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกคัดกรองมาแล้ว เป็นข้อมูลที่มีการลงทุนลงแรง ต่างจากข้อมูลบนหน้าเว็บที่ใครจะมาเขียนก็ได้ แต่การจะได้ตีพิมพ์หนังสือต้องผ่านการอนุมัติจากสำนักพิมพ์

ที่มาของหนังสือแต่ละเล่มจึงมาจากผู้เขียนและสำนักพิมพ์  หลายๆเล่มมาจากการลงแรงของผู้เขียน ต้องใช้เวลา และอาจใช้ทุนนิดหน่อย  ส่วนสำนักพิมพ์ก็เป็นผู้ลงทุน  หนังสือจึงมีค่าใช้จ่าย หนังสือที่จัดจำหน่ายแต่ละเล่มจึงมีการอ้างลิขสิทธิ์ ป้องกันไม่ให้มีการลอกเลียน

หนังสือก็คล้ายๆกับเพลง มันมีการลงทุน  การคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาติจึงถือเป็นการขโมยผลงาน  …แต่เท่าที่ทราบกับกรณีของ “หนังสือ” จะต่างออกไป  ให้คัดลอกด้วยการถ่ายเอกสารได้แค่บางส่วน โดยไม่กระทบกับการแสวงหาประโยชน์จากเจ้าของลิขสิทธิ์  แต่ถ่ายทั้งเล่ม “ผิดลิขสิทธิ์”

แต่มีบางเล่มเขาจะเขียนข้อจำกัดไว้ว่าห้ามทำการคัดลอกไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้  บางเล่มอ้าง พรบ ปี 2537 บางเล่มอ้าง พรบ ปี 2521  หนัสือเล่มใหม่ๆอ้างปี 2537 ทำให้ไม่สามารถถ่ายเอกสารทั้งเล่มได้ แม้จะใช้เพื่อการศึกษา

 

จะว่าไป…ผมว่ามันเป็นเรื่องของสามัญสำนึกด้วยส่วนหนึ่ง

ผลผลิตทุกอย่างมันมีการลงทุน  หนังสือก็มีการลงทุน แม้ว่าจะใช้เพื่อการศึกษา การถ่ายเอกสารก็คือการทำสำเนาคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์  จะอ้างว่าเป็นนักศึกษา ทุนน้อยยังงัย …ถ้าคิดแบบนี้กันตลอด คนขายหนังสือขาดทุน  นักเขียนไปทำงานอย่างอื่นๆ โดยเฉพาะหนังวิชาการบางศาสตร์มีน้อยมาก  มันน้อยอาจเพราะด้วยเหตุผลนี้ก็เป็นได้ เขียนไปมีคนอ่านก็จริ แต่คนได้เงินเป็นร้ายถ่ายเอกสาร เป็นผมก็ไม่อยากเขียนเท่าไหร่นะ

Facebook Comments